awanafan

นักเขียนและนักออกแบบอิสระ Copy Writer & Graphic Designer Contact info : [email protected]

เช็คลิสต์! ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้าต้องทำอะไรบ้าง (ฉบับจับมือทำ)

การจดทะเบียนการค้า หรือ การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ หลักฐานสำคัญทางการค้า ที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้า และสร้างความมั่นใจได้ว่าร้านค้านั้นมีตัวตนและมีสถานประกอบการเป็นหลักแหล่ง ทำให้ลูกค้าสามารถรับ-คืน-เปลี่ยนสินค้าได้ หรือหากสินค้าชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ภายในระยะเวลารับประกัน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้กิจการบางประเภทต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลแตกต่างกันไปตามข้อบังคับ เช่น บุคคลธรรมดาที่ประกอบกิจการค้าขายทั่วไป พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ แต่สำหรับนิติบุคคล หากได้ระบุการค้าขายไว้ในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลก็ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์แต่อย่างใด ใครบ้างที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนการค้า? กรมธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ได้แบ่งผู้ที่มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ 5 ประเภท ดังนี้ บุคคลธรรมดาคนเดียว (กิจการเจ้าของคนเดียว) ห้างหุ้นส่วนสามัญ กฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด *ข้อควรรู้ : การจดทะเบียนการค้า ผู้ประกอบการ ต้องขอจดทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิยช์ภายใน 30 วัน นับต้องแต่วันที่เริ่มประกอบธุรกิจหรือกิจการ ธุรกิจใดบ้างที่ไม่ต้องจดทะเบียนการค้า? ผู้ที่ไม่ต้องจดทะเบียนการค้ามีหลากหลาย แต่ผู้ที่ได้รับการยกเว้นการจดทะเบียนการค้าหลักๆจะมีดังนี้ การค้าเร่ การค้าแผงลอย พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1

เช็คลิสต์! ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้าต้องทำอะไรบ้าง (ฉบับจับมือทำ) Read More »

Data Analytics คืออะไร สำคัญกับธุรกิจในปัจจุบันอย่างไร (พร้อมตัวอย่าง)

Data Analytics คือ การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ โดยข้อมูลที่นำมาใช้มีทั้งข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน รวมไปถึงการพยากรณ์ข้อมูลในอนาคต เพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ ข้อมูลเหล่านี้ถือว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญของธุรกิจ เพราะสามารถใช้สร้างศักยภาพให้กับธุรกิจได้ ประเภทของ Data Analytics Descriptive analytics คือ การพรรณาข้อมูลจากอดีต เพื่อให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในอดีตในรูปแบบที่ง่ายที่สุด และคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น รายงานการขาย และรายงานผลการดำเนินการ เป็นต้น Diagnostic analytics คือ การวิเคราะห์เหตุผลว่าทำไมเหตุการณ์ต่างๆจึงเกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ และความสัมพันธ์ของปัจจัย หรือตัวแปรต่างๆ เช่น ความสัมพันธ์ของยอดขาย และแคมเปญต่างๆ Predictive analytics คือ การทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วนำมาสร้างแบบจำลองทางสถิติ หรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เช่น พยากรณ์ยอดขาย การพยากรณ์ผลประชามติ เป็นต้น Prescriptive analytics คือ การสรุปข้อมูลเพื่อนำไปใช้ปรับปรุง สร้างการตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย หรือหลีกเลี่ยงปัญหาเดิมที่อาจะเกิดซ้ำๆ และเป็นการวางแผนการทำงานในอนาคตไว้ โดยมีการคาดการณ์ผลลัพธ์ไว้ล่วงหน้า กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลมีองค์ประกอบต่างๆที่สามารถช่วยในการริเริ่มสิ่งต่างๆภายในองค์กรได้ โดยทั่วไปแล้วกระบวนการนี้เริ่มต้นด้วยการคิดวิเคราะห์เชิงพรรณนา (descriptive

Data Analytics คืออะไร สำคัญกับธุรกิจในปัจจุบันอย่างไร (พร้อมตัวอย่าง) Read More »

รู้หรือไม่? Design Thinking คืออะไร เริ่มต้นทำได้อย่างไร? (พร้อมตัวอย่าง)

Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ คือ กระบวนการทางความคิดในการพยายามทำความเข้าใจสมมติฐานต่างๆ และการกำหนดปัญหา และวิธีแก้ปัญหา เป็นการพัฒนาวิธีการคิดและการทำงานเป็นทีม เพื่อให้เกิดความสนใจอย่างลึกซึ่ง ในการพัฒนาความเข้าใจทีมที่กำลังทำงานอยู่ร่วมกัน ช่วยพัฒนาการสังเกต ความเห็นอกเห็นใจในการทำงานร่วมกันนั่นเอง ประโยชน์ของ Design Thinking ช่วยพัฒนากระบวนการแก้ไข้ปัญหา และการทำงานเป็นลำดับขั้นตอน พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และการคิดหาวิถีทางหรือแชร์ไอเดียในการทำงานร่วมกันเป็นทีม รู้จักการคิดวิเคราะห์ ทำให้มีไอเดียที่หลากหลาย และมีทางเลือกที่ดีที่สุดในการทำงานได้มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดกระบวนการทำงาน และนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อนำมาใช้ในการทำงานได้ มีแผนสำรองในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว องค์กรทำงานได้อย่างมีระบบ และทำงานได้มีประสิทธิภาพอีกด้วย บุคลากรมีประสิทธิภาพ มีศักยภาพ และมีทักษะที่หลากหลาย กระบวนการออกแบบ Design Thinking กระบวนการออกแบบ design thinking นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบ 3 ขั้น ไปจนถึง 7 ขั้น ทุกรูปแบบมีความคล้ายคลึงมากที่สุด และใช้หลักการเดียวกันที่อ้างอิงจาก Herbert Simon ผู้ชนะรางวัลโนเบลในสาขา The Sciences of the Artificial ในปี 1969

รู้หรือไม่? Design Thinking คืออะไร เริ่มต้นทำได้อย่างไร? (พร้อมตัวอย่าง) Read More »

Customer Relationship Management (CRM) คืออะไร ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด?

CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management หมายถึง การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้า ตั้งแต่การนำเสนอสินค้าหรือบริการ ไปจนถึงการทำให้เกิดการซื้อซ้ำๆ เรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองทุก Customer Journey ของลูกค้าอย่างแท้จริง เช่น ออกแบบกระบวนการขายและบริการ การคาดการณ์และวิเคราะห์แนวโน้มหรือพฤติกรรมของลูกค้า เป็นต้น การทำ CRM จะทำขึ้นเพื่อให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และเน้นให้ให้ลูกค้าเก่าเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อธุรกิจ และมีโอกาสซื้อซ้ำมากที่สุด จนทำให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ทำให้มีโอกาสทางธุรกิจ และกำไรในระยะยาว ระบบ CRM เหมาะกับธุรกิจใดบ้าง? ระบบ CRM เหมาะสำหรับทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการขาย การบริการ การพัฒนาธุรกิจ การสรรหา การตลาด หรือธุรกิจอื่นๆ ล้วนควรทำ CRM ทั้งสิ้น เพราะ CRM ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดเก็บข้อมูลการติดต่อของลูกค้าและผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้า ระบุโอกาสในการขาย บันทึกปัญหาของสินค้าและบริการ รวมไปถึงการจัดการแคมเปญต่างๆ และสามารถตอบโต้ลูกค้าได้ทันที ประโยชน์ของ CRM ช่วยเพิ่มรายได้จากการขาย เพราะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าจะช่วยสร้างความภักดี ทำให้เกิดการซื้อซ้ำได้ง่าย

Customer Relationship Management (CRM) คืออะไร ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด? Read More »

10 สินค้าขายดี ไม่มีวันตกเทรนด์ และกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร?

หลายๆคนคงอยากหารายได้เสริม หรือทำธุรกิจส่วนตัวกันในยุคนี้ เพื่อที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่คงกลัวที่จะลงทุน กลัวว่าต้นทุนจม และไม่มีกำไร แต่หากรู้ไหมว่า…มีสินค้าบางชนิดที่ขายดีตลอดกาล ไม่ว่าจะยุคไหน ก็สามารถขายได้ เพราะเป็นของยอดนิยม ของต้องมี และมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน วันนี้ wisdom รวบรวมสินค้าเหล่านั้นมาไว้ในบทความนี้แล้ว… ประเภทที่ 1 อาหารและขนมโฮมเมด อาหารและขนม เป็นปัจจัย 4 ที่สำคัญในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นใคร วัยไหนก็ต้องรับประทานอาหาร ทำให้สินค้าประเภทนี้ ขาดไปไม่ได้เลย แต่อาหารประเภทที่ได้รับความนิยมอยู่ตลอดในเมืองไทย คงหนีไม่พ้น อาหารและขนมที่ทำขึ้นจากมือล้วนๆนั่นเอง ถึงแม้ปัจจุบัน อาหารจานด่วน หรือ instant food จะมีความนิยมเพิ่มขึ้น แต่ด้วยพฤติกรรมของคนไทย และขนบธรรมเนียมที่มีกันมานาน คนไทยจึงยังต้องการอาหารโฮมเมดอยู่เสมอ ยิ่งเป็นอาหารหรือขนมที่ทำขึ้นจากมือล้วนๆ ยิ่งได้รับความนิยม เพราะหาทานยาก มีเอกลักษณ์มากกว่า และยังมีรสชาติที่แปลกใหม่ แตกต่างงจากอาหารที่ผลิตแบบ OEM อีกด้วย อาหารโฮมเมดโดยเฉพาะประเภทเบเกอรี่ ได้รับความนิยมสูงมาอย่างต่อเนื่อง หากร้านไหนทำอร่อย ทำถูกใจคนทาน ก็สร้างลูกค้าประจำได้เลย ตัวอย่างร้าน Maesalong Croissant คาเฟ่ครัวซองต์ยอดฮิต

10 สินค้าขายดี ไม่มีวันตกเทรนด์ และกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร? Read More »

PDPA คืออะไร ทำความรู้จักข้อจำกัด! (พร้อมแนวทางการปรับตัวของธุรกิจ)

หากคุณลองสังเกตดูในตอนที่เราเข้าไปที่เว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ มักจะมีป๊อปอัพขึ้นมาให้กดยินยอมหรืออนุญาต พร้อมข้อความ “เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อการปรับปรุงการใช้บริการออนไลน์ของท่าน โดยเราจะใช้คุกกี้เมื่อท่านเข้ามาหน้าเว็บไซต์” เพื่ออนุญาตให้เจ้าของสามารถนำข้อมูลต่างๆไปใช้ได้ แล้วเจ้าคุกกี้ที่ว่านี่คืออะไร สำคัญอย่างไร วันนี้ Wisdom มีคำตอบ PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” คืออะไร? Personal Data Protection Act หรือ PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อ 27 พฤษภาคม 2562 และมีผลบังคับใช้เมื่อ 28 พฤษภาคม 2562 แล้วในบางส่วน โดยวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 เป็นวันที่ พ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายทั้งฉบับ ซึ่ง PDPA เป็นกฏหมายที่ออกมาคุ้มครองสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล จากการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นทำให้ “ข้อมูล”  เป็นสิ่งสำคัญในการต่อยอดธุรกิจ ทำให้มีการละเมิดสิทธิส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลทำได้ง่ายขึ้น และสร้างความเดือนร้อนหรือรำคาญให้กับเจ้าของข้อมูล จึงต้องมีจึงต้องมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่รวมถึงการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลขึ้น เช่น

PDPA คืออะไร ทำความรู้จักข้อจำกัด! (พร้อมแนวทางการปรับตัวของธุรกิจ) Read More »

Content Marketing คืออะไร? ใช้อย่างไรให้เหมาะกับปี 2022 (พร้อมตัวอย่าง)

ในยุคที่โซเชียล มีเดียมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ ทำให้การแข่งขันการทำการตลาดรุนแรงและดุเดือดมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น organic หรือ paid ก็ล้วนส่งผลต่อแบรนด์และสินค้าต่างๆ ทำให้ช่องทางโซเชียลมีเดียเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างข้อได้เปรียบให้กับแบรนด์ได้ และพลาดไม่ได้เลย หากพูดถึงการตลาดบนโซเชียล มีเดีย แล้วจะไม่พูดถึงการทำ content marketing ที่กลายเป็นอาวุธสำคัญในยุคนี้ Content Marketing คืออะไร? Content Marketing คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่เน้นการสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่มี “คุณค่า” และสอดคล้องกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มลูกค้าไว้ตามจุดประสงค์ทางการตลาดต่างๆ เช่น การสร้างการรับรู้ การสร้างการมีส่วนร่วม การเพิ่มยอดขายออนไลน์ เป็นต้น และสุดท้าย Content Marketing มักจะเป็นสิ่งที่ทำเพื่อขับเคลื่อนองค์กร ไม่ว่าจะเป็น ภาพลักษณ์, ความสัมพันธ์กับลูกค้า และกำไร Content Marketing สำคัญอย่างไร ทำไมจึงต้องทำ? Content กลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้แบรนด์หรือธุรกิจตอบคำถาม สื่อสารกับผู้บริโภคได้อย่างดี และสามารถสร้างความไว้วางใจ การเปลี่ยนแปลง และนำเสนอสิ่งที่แบรนด์ต้องการพูดออกไปได้ ในขณะเดียวกันกลุ่มเป้าหมายก็จะคาดหวังใน Content ที่มีคุณภาพ สม่ำเสมอ และตอบโจทย์ต่อความต้องการด้วยContent

Content Marketing คืออะไร? ใช้อย่างไรให้เหมาะกับปี 2022 (พร้อมตัวอย่าง) Read More »

SWOT Analysis คืออะไร วิธีใช้ให้ได้ผล (พร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์)

SWOT Analysis คืออะไร มีส่วนช่วยธุรกิจได้อย่างไร ซึ่งก่อนการเริ่มต้นทำธุรกิจเราจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจก่อนเริ่มต้นธุรกิจ เครื่องมือที่ถูกนำมาใช้บ่อยๆ เพราะสามารถวิเคราะห์ได้อย่างครอบคลุมไม่ว่าจะภายใน ภายนอกองค์กร อย่าง “SWOT” เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย แต่รู้หรือไม่ว่า SWOT ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย และสามารถทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงได้เลยทีเดียว SWOT คืออะไร? SWOT เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบริษัท รวมไปถึงการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งถูกเรียกว่า SWOT MATRIX ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดย Albert Humphrey จาก Stanford Research Institute ในช่วงปลายปี 1960s และ ต้นปี 1970s ประกอบด้วย Strengths, Weakness, Opportunities และ Threats Strengths (จุดแข็ง) และ Weakness (จุดอ่อน) ภายในองค์กรที่สามารถควบคุมได้ เช่น บุคคลในองค์กร, ทรัพยากรในองค์กร, สถานที่ตั้ง เป็นต้น Opportunities (โอกาส) และ

SWOT Analysis คืออะไร วิธีใช้ให้ได้ผล (พร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์) Read More »

Influencer คืออะไร มีส่วนช่วยในการทำการตลาดได้อย่างไร! (พร้อมตัวอย่าง)

Influencer คือ กลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย และมีชื่อเสียงในด้านความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และเผยแพร่เรื่องราวต่างๆบนโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างผู้ติดตาม และการมีส่วนร่วม เรียกได้ว่า เป็นการสื่อสารผ่านแนวคิดของบุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นการตลาดแบบปากต่อปากนั่นเอง ในการทำการตลาดออนไลน์ในยุคปัจจุบัน พลังเสียงของบุคคลที่ 3 มีผลต่อการสื่อสารการตลาด ทั้งการสร้างการรับรู้ สร้างความสนใจ สร้างความเชื่อมั่น  และนำไปสู่การซื้อสินค้า ทำให้ Influencer Marketing กลายเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ห้ามมองข้าม เพราะจะเป็นการปิดโอกาสที่จะเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆทันที  ซึ่งจะเป็นกุญแจสำหรับในการสร้างฐานลูกค้าใหม่ของแบรนด์ต่างๆ ทว่า ในยุคที่การแข่งขันดุเดือด และรอบด้านนี้ แบรนด์จะมองข้ามกลยุทธ์การตลาดประเภทนี้ไปไม่ได้ เพราะถ้าคุณไม่สนใจ ก็จะเป็นการปิดโอกาสที่จะเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ทันที หลักใหญ่ใจความเกี่ยวกับการทำงานของ Influencers คือ การใช้คำศิลปะทางการสื่อสาร ร่วมกับแนวคิดของการตลาดแบบปากต่อผ่าน ที่จะถ่ายทอดผ่าน Social Media ของพวกเขาเอง ยิ่งสื่อสารออกไปได้กว้างเท่าไร ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น ประเภทของ Influencer มีอะไรบ้าง? มีข้อดีอย่างไร? การทำการตลาดผ่าน Influencer จะช่วยสร้างการรับรู้ได้ในวงกว้าง เพราะผู้ติดตามของ influencer จะมีหลากหลายอายุ เพศ

Influencer คืออะไร มีส่วนช่วยในการทำการตลาดได้อย่างไร! (พร้อมตัวอย่าง) Read More »

Scroll to Top