รู้หรือไม่? Design Thinking คืออะไร เริ่มต้นทำได้อย่างไร? (พร้อมตัวอย่าง)

Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ คือ กระบวนการทางความคิดในการพยายามทำความเข้าใจสมมติฐานต่างๆ และการกำหนดปัญหา และวิธีแก้ปัญหา เป็นการพัฒนาวิธีการคิดและการทำงานเป็นทีม เพื่อให้เกิดความสนใจอย่างลึกซึ่ง ในการพัฒนาความเข้าใจทีมที่กำลังทำงานอยู่ร่วมกัน ช่วยพัฒนาการสังเกต ความเห็นอกเห็นใจในการทำงานร่วมกันนั่นเอง

ประโยชน์ของ Design Thinking

  1. ช่วยพัฒนากระบวนการแก้ไข้ปัญหา และการทำงานเป็นลำดับขั้นตอน
  2. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และการคิดหาวิถีทางหรือแชร์ไอเดียในการทำงานร่วมกันเป็นทีม
  3. รู้จักการคิดวิเคราะห์ ทำให้มีไอเดียที่หลากหลาย และมีทางเลือกที่ดีที่สุดในการทำงานได้มีประสิทธิภาพ
  4. ทำให้เกิดกระบวนการทำงาน และนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อนำมาใช้ในการทำงานได้
  5. มีแผนสำรองในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
  6. องค์กรทำงานได้อย่างมีระบบ และทำงานได้มีประสิทธิภาพอีกด้วย
  7. บุคลากรมีประสิทธิภาพ มีศักยภาพ และมีทักษะที่หลากหลาย

กระบวนการออกแบบ Design Thinking

กระบวนการออกแบบ design thinking นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบ 3 ขั้น ไปจนถึง 7 ขั้น ทุกรูปแบบมีความคล้ายคลึงมากที่สุด และใช้หลักการเดียวกันที่อ้างอิงจาก Herbert Simon ผู้ชนะรางวัลโนเบลในสาขา The Sciences of the Artificial ในปี 1969 โดยรูปแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ รูปแบบของ Hasso-Plattner Institute of Design at Stanford มีทั้งหมด 5 กระบวนด้วยกัน ดังนี้

  1. Empathise หรือ การเข้าใจปัญหา
    คือ การทำความเข้าใจกับปัญหาก่อน ตั้งแต่การเข้าใจผู้ใช้ กลุ่มเป้าหมาย หรือเข้าใจสิ่งที่ต้องการแก้ไขเพื่อหาหนทางที่เหมาะสม และดีที่สุดให้ได้ โดยเริ่มต้นจาก การเข้าใจคำถาม สร้างสมมติฐาน กระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดที่นำไปสู่ความคิด สร้างสรรค์ และวิเคราะห์ปัญหาให้ถี่ถ้วน เพื่อหาแนวทางที่ชัดเจน นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็น และสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
  2. Define หรือ กำหนดปัญหาให้ชัดเจน
    คือ การเข้าใจความต้องการ ปัญหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อคัดกรองหาปัญหาที่แท้จริง กำหนดหรือบ่งชี้ปัญหาอย่างชัดเจน เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการปฎิบัติ และมีทิศทางในการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน
  3. Ideate หรือ ระดมความคิด
    คือ การนำเสนอแนวคิดต่างๆร่วมกัน ถึงวิธีการแก้ไขปัญหา อย่างไม่มีกรอบจำกัด การระดมความคิดควรมีมุมมองหลากหลาย และมีหลากหลายแนวทางให้ได้มากที่สุด เพื่อให้มีฐานข้อมูลในการนำไปวิเคราะห์และสรุปผล เพื่อนำไปแก้ไขปัญหา โดยไม่จำเป็นต้องเป็นแนวทางใดแนวทางหนึ่ง และการระดมความคิดยังช่วยมองให้เห็นปัญหาที่หลากหลายได้มากขึ้น
  4. Prototype หรือ สร้างต้นแบบที่เลือก
    คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรม เพื่อสร้างต้นแบบสำหรับการทดสอบ และนำไปใช้จริง ซึ่งคือ การลงมือปฎิบัติหรือทดลองตามแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ได้กำหนดไว้
  5. Test หรือ ทดสอบการแก้ไขปัญหา

คือ การทำลองทำต้นแบบ หรือข้อสรุปที่จะนำไปใช้จริงมาปฏิบัติก่อน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ตลอดจนประเมินผล และนำเอาปัญหา ข้อดี ข้อเสียที่เกิดขึ้นมาแก้ไขในครั้งต่อไป

ตัวอย่าง Netflix บริการสตรีมภาพยนต์ระดับโลก ในการใช้ Design Thinking 

เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1997 ผู้ก่อตั้ง  Reed Hasting เริ่มต้น Netflix ด้วยการเป็นบริการส่งภาพยนต์ไปถึงประตูหน้าบ้านของลูกค้า ด้วยการทำความทำความเข้าใจปัญหาของการดูภาพยนต์ และเช่าซีดี

Reed Hastings (CEO คนปัจจุบัน) เช่าวิดีโอเรื่อง Apollo 13 มาจากร้านเช่าวิดีโอแห่งหนึ่ง แต่ว่าเกินกำหนดไปเดือนกว่า ๆ ทำให้ถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 40 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 1,200 บาท จึงทำให้เขาเกิดไอเดียในการเปิดร้านเช่าวิดีโอขึ้นมา ในรูปแบบให้ลูกค้าส่งคำสั่งการเช่าผ่านอินเทอร์เน็ตภายในอเมริกา และจัดส่งวิดีโอให้ทางไปรษณีย์ โดยเริ่มแรกมีคอนเทนต์เพียงแค่ 925 เรื่องเท่านั้น

ต่อมาในปี 1998 เขาปรับเปลี่ยนไอเดียใหม่มาใช้ระบบการสมัครสมาชิก (Subscription) แบบรายเดือนแทน และสามารถดูกี่เรื่องก็ได้ภายใน 1 เดือน ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นจำนวนมาก จนมีผู้ใช้บริการมากถึง 1 ล้านคนภายใน 4 ปี และได้นำร้านเช่าวิดีโอแห่งนี้เข้าตลาดหุ้น จนได้กลายเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ Blockbuster เชน ร้านเช่าวิดีโอรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา

ในปี 2007 ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนธุรกิจอีกครั้งมาเป็นให้บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์บนอินเทอร์เน็ต และในปี 2010 ได้เปิดให้บริการที่ต่างประเทศครั้งแรกนั่นคือประเทศแคนาดา และตามด้วยประเทศในแถบอเมริกาใต้และในปัจจุบัน Netflix ได้ให้บริการกว่า 190 ประเทศทั่วโลกแล้ว

Netflix ใช้ Design Thinking ในการเข้าใจความต้องการ ปัญหา และความคาดหวังของลูกค้าจนเกิดเป็น Business Model ตั้งแต่การเข้าใจปัญหา และเริ่มต้นจับตลาด จะเห็นได้ว่า Reed Hastings มองเห็นปัญหาอย่างแท้จริงในการเช่าวีดีโอแบบดั้งเดิม ทั้งระยะเวลาการเช่า ราคา การจ่ายค่าปรับ และอื่นๆ ที่มีผู้ใช้รายอื่นๆมีปัญหาเดียวกันด้วย ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว 

การคิดใหญ่และเริ่มต้นจากธุรกิจขนาดเล็ก ทำให้ Reed Hastings ประสบความสำเร็จ แต่ต่อมา ปี 2001 เขาได้เริ่มลงทุนกับการทำความเข้าใจกับปัญหาต่างๆ ด้วยจำนวนเงินกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัญต่อปี ถึงแม้การลงทุนครั้งนี้จะทำให้องค์กรเหลือกำไรเพียงเล็กน้อย แต่ก็เป็นประโยชน์ และสร้างกำไรได้ในอนาคต

นอกจากนี้ เขายังทำการทดสอบตลาด ด้วยบริการสตรีมวีดีโอให้กับผู้ใช้งานได้ทดลองใช้ และสร้างความคุ้มเคย ปรับปรุง พัฒนาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ของการทดสอบ และประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้บริการของ Netflix เติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นที่ต้องการของผู้ใช้งานจำนวนมากบนโลกอินเตอร์เน็ต

ที่มา interaction.com / yukti.io

Leave a Comment

Scroll to Top