SWOT Analysis คืออะไร วิธีใช้ให้ได้ผล (พร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์)

SWOT Analysis คืออะไร มีส่วนช่วยธุรกิจได้อย่างไร ซึ่งก่อนการเริ่มต้นทำธุรกิจเราจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจก่อนเริ่มต้นธุรกิจ เครื่องมือที่ถูกนำมาใช้บ่อยๆ เพราะสามารถวิเคราะห์ได้อย่างครอบคลุมไม่ว่าจะภายใน ภายนอกองค์กร อย่าง “SWOT” เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย แต่รู้หรือไม่ว่า SWOT ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย และสามารถทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงได้เลยทีเดียว

SWOT คืออะไร?

SWOT เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบริษัท รวมไปถึงการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งถูกเรียกว่า SWOT MATRIX ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดย Albert Humphrey จาก Stanford Research Institute ในช่วงปลายปี 1960s และ ต้นปี 1970s ประกอบด้วย Strengths, Weakness, Opportunities และ Threats

Strengths (จุดแข็ง) และ Weakness (จุดอ่อน) ภายในองค์กรที่สามารถควบคุมได้ เช่น บุคคลในองค์กร, ทรัพยากรในองค์กร, สถานที่ตั้ง เป็นต้น

Opportunities (โอกาส) และ Threats (อุปสรรค) ภายนอกองค์กร และมีขนาดใหญ่ในตลาด ซึ่งสามารถใช้เป็นโอกาสในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน หรือป้องกันอุปสรรคต่างๆที่จะเกิดขึ้น เช่น คู่แข่ง ราคาวัตถุดิบ แนวโน้มตลาด เป็นต้น

SWOT Analysis (ภาพจาก wordstream.com)

ทำไมต้องวิเคราะห์ SWOT?

การวิเคราะห์ SWOT เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่องค์กรต้องทำเพื่อให้ธุรกิจเติบโตขึ้นได้ และประสบความสำเร็จ และยังเป็นการวิเคราะห์เพื่อหาภาพรวม และมุมมองของธุรกิจ เพื่อวางกลยุทธ์ และทิศทางขององค์กรในอนาคต และยังสามารถใช้ค้นหาภัยคุกคามในตลาดได้อีกด้วย

วิธีการวิเคราะห์ SWOT?

การวิเคราะห์ SWOT ให้มีประสิทธิภาพ ควรร่วมมือกันวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็น ผู้นำองค์กร นักการตลาด นักการขาย บุคคลอื่นๆภายในองค์กร หรือแม้กระทั่งผู้ผลิต ซัพพลายเออร์ เพื่อให้ผลลัพธ์สามารถนำไปใช้ได้จริง และเกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในแง่มุมที่ต่างกันออกไป ตั้งแต่การวางแผน การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ การวางกลยุทธ์โฆษณา จนไปถึงการขายและการบริการลูกค้าอีกด้วย และสิ่งสำคัญที่ควรนำมาใช้ คือ “ความคิดเห็นจากลูกค้า” เพราะมุมมองของลูกค้า คือ สิ่งสำคัญที่จะนำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ และการวิเคราะห์ SWOT ควรประเมินจากสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น ควรประเมิน และวิเคราะห์ทุกๆ 6-12 เดือน 

แนวทางในการวิเคราะห์ SWOT

หลายๆองค์กรมักไม่รู้ว่าควรเริ่มต้นวิเคราะห์จากตรงไหน และไม่มีไอเดียในการเริ่มทำการวิเคราะห์ ดังนั้น จึงควรเริ่มต้นตั้งแต่การตั้งคำถามต่อองค์กร และอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น

Strengths

  • วิธีการใดที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ?
  • สินทรัพย์ใดบ้างที่มีในองค์กร หรือทีมของคุณ? เช่น ความรู้ การศึกษา ความเชี่ยวชาญ เครือข่าย ทักษะ และชื่อเสียง)
  • ทรัพย์สินใดบ้างที่จะสามารถช่วยให้องค์กรทำงานได้อย่างรวดเร็ว มีระบบ และมีประสิทธิภาพ เช่น ลูกค้า อุปกรณ์ต่างๆ เทคโนโลยีที่คุณมี เงินสด และสิทธิบัตรต่างๆ
  • ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่มีเหนือคู่แข่งมีอะไรบ้าง? เอกลักษณ์เฉพาะตัว?

Weaknesses

  • ธุรกิจของคุณจำเป็นต้นมีการแข่งขันหรือไม่? 
  • ลักษณะการทำงาน กระบวนการทางธุรกิจที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในภายหลังและควรปรับปรุง?
  • มีช่องว่างในทีม หรือขาดบุคลากรในตำแหน่งที่สำคัญ เช่น พนักงานบริการลูกค้า นักการตลาด พนักงานตรวจสิบคุณภาพ เป็นต้น

Opportunities

  • ตลาดที่คุณกำลังอยู่มีโอกาสเติบโตและมีแนวโน้มให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการซื้อขายมากขึ้นหรือไม่?
  • อะไรบ้างในสังคมที่คุณสามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อให้ธุรกิจเกิดการเติบโต?
  • การเปลี่ยนแปลงภายนอกใดบ้างที่มีผลกระทบต่อบริษัทในทางบวก เช่น กฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี เป็นต้น 
  • กลุ่มเป้าหมาย หรือลูกค้า มีความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดบ้าง และคุณจะเป็น Top of mind หรือไม่?

Threats

  • คู่แข่งรายใหม่ที่อาจจะเข้ามาสู่ตลาดในภายหลังมีจำนวนมากน้อยแค่ไหน?
  • ซัพพลายเออร์จะสามารถหาวัตถุดิบแบบเดียวกับคุณในราคาที่เท่าๆกันได้หรือไม่?
  • การพัฒนาเทคโลยีในอนาคตจะเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจของคุณในอนาคตได้หรือไม่?
  • พฤติกรรมของผู้บริโภคมีแนวโน้มเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงลบต่อธุรกิจของคุณหรือไม่?
  • มีแนวโน้มของตลาดใดบ้างที่จะทำให้คุณเสียเปรียบในภายหลัง?

ตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT : สินค้าไส้กรอกอกไก่ แบรนด์ A

Strengths

  1. มีประสบการณ์ด้านผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปมากว่า 20 ปี และมีชื่อเสียงด้านคุณภาพส่งออกญี่ปุ่น และรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้มีความชำนาญในการจัดหาวัตถุดิบ และมีฐานลูกค้าในการดำเนินธุรกิจ
  2. A เป็นไส้กรอกอกไก่ 100%  โซเดียมต่ำ ซึ่งคู่แข่งลอกเลียนแบบได้ยาก
  3. มีฐานลูกค้าในกลุ่ม B2B เช่น ร้านอาหาร, โรงแรม, ภัตตาคาร เป็นต้น

Weaknesses

  1. ไม่มีการวางกลยุทธ์ด้านการตลาดออนไลน์ จึงทำให้ขาดการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย(end user) ทำให้ยังไม่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย
  2. ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ยังมีเพียงไส้กรอกอกไก่เพียงอย่างเดียว ทำให้ขาดความหลากหลาย และยังตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้ไหมครอบคลุม

Opportunities

  1. พฤติกรรมของผู้บริโภคเน้นความสะดวกสบาย รวดเร็ว ส่งผลให้สินค้าใหม่ของ A ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี
  2. กระแสรักสุขภาพ หุ่นดี เกิดขึ้นทั้งชายและหญิง ทำให้เพิ่มโอกาสในการเสนอขายได้เข้าถึงมากขึ้น
  3. ช่องทางการสื่อสารและช่องทางการขายในปัจจุบันเข้าถึงง่ายและหลากหลาย เช่น ช่องทางขายสินค้าทางออนไลน์ ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้น
  4. เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.8 และอัตราการว่างงานน้อยลง ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการอุปโภคบริโภคมากขึ้น เพิ่มโอกาสในการขายสินค้า
  5. ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความทันสมัย เชื่อมต่อได้ทั่วโลก ทำให้สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ในวงกว้าง สร้าง การรับรู้ และเพิ่มช่องทางการขายได้มากยื่งขึ้น

Threats

  1. การแข่งขันอยู่ในระดับ Red Ocean ซึ่งมีการแข่งขันรุนแรง และมีคู่แข่งจำนวนมาก
  2. กลุ่มเป้าหมายมีทางเลือก เพราะมีสินค้าทดแทนหลากหลาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น อกไก่นุ่ม อกไก่สด ผัก โปรตีนสำเร็จรูป เป็นต้น
  3. ขนาดตลาด (Market Size) ไส้กรอกมีขนาดใหญ่ และมากกว่า 50% ครอบคลุมโดยคู่แข่งขันรายใหญ่ที่มีเงินลงทุนสูง สามารถวางขายสินค้าได้หลากหลายช่องทาง และประชาสัมพันธ์ได้มากกว่า

ที่มา : Liveplan.com

Leave a Comment

Scroll to Top