Influencer คืออะไร มีส่วนช่วยในการทำการตลาดได้อย่างไร! (พร้อมตัวอย่าง)

Influencer คือ กลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย และมีชื่อเสียงในด้านความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และเผยแพร่เรื่องราวต่างๆบนโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างผู้ติดตาม และการมีส่วนร่วม เรียกได้ว่า เป็นการสื่อสารผ่านแนวคิดของบุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นการตลาดแบบปากต่อปากนั่นเอง

ในการทำการตลาดออนไลน์ในยุคปัจจุบัน พลังเสียงของบุคคลที่ 3 มีผลต่อการสื่อสารการตลาด ทั้งการสร้างการรับรู้ สร้างความสนใจ สร้างความเชื่อมั่น  และนำไปสู่การซื้อสินค้า ทำให้ Influencer Marketing กลายเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ห้ามมองข้าม เพราะจะเป็นการปิดโอกาสที่จะเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆทันที 

ซึ่งจะเป็นกุญแจสำหรับในการสร้างฐานลูกค้าใหม่ของแบรนด์ต่างๆ ทว่า ในยุคที่การแข่งขันดุเดือด และรอบด้านนี้ แบรนด์จะมองข้ามกลยุทธ์การตลาดประเภทนี้ไปไม่ได้ เพราะถ้าคุณไม่สนใจ ก็จะเป็นการปิดโอกาสที่จะเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ทันที หลักใหญ่ใจความเกี่ยวกับการทำงานของ Influencers คือ การใช้คำศิลปะทางการสื่อสาร ร่วมกับแนวคิดของการตลาดแบบปากต่อผ่าน ที่จะถ่ายทอดผ่าน Social Media ของพวกเขาเอง ยิ่งสื่อสารออกไปได้กว้างเท่าไร ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น

ประเภทของ Influencer มีอะไรบ้าง? มีข้อดีอย่างไร?

การทำการตลาดผ่าน Influencer จะช่วยสร้างการรับรู้ได้ในวงกว้าง เพราะผู้ติดตามของ influencer จะมีหลากหลายอายุ เพศ พฤติกรรม ความสนใจ ดังนั้น การเลือกใช้ influencer จะต้องเลือกที่เหมาะสม และเข้ากับสินค้า โดยประเภทของ influencer จะแบ่งตามระดับผู้ติดตาม ดังนี้

  1. Nano Influencer (มีผู้ติดตาม 1,000-10,000 คน)
    เปรียบเสมือนบุคคลทั่วไปที่มีอิทธิพลในหมู่คนรู้จักหรือเพื่อนๆ เช่น ดาวโรงเรียน, นักกีฬาตัวจริง, ประธานนักเรียน, หรือแม้แต่คนที่มีลักษณะโดเด่นจนเป็นที่น่าจดจำในหมู่เพื่อน ทำให้การว่าจ้างจึงไม่สูงมากนัก และยังมีอิทธิพล มีความน่าเชื่อถือต่อบุคคลรอบข้างทั้งเพื่อน, ครอบครัว, คนรู้จัก ฯลฯ

ตัวอย่าง Nano Influencer

  1. Micro Influencer (มีผู้ติดตาม 10,000-50,000 คน)

มีฐานแฟนคลับจากแนวทางหรือคอนเทนต์ที่นำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ และสร้างสรรมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถดึงดูดผู้คนได้มากขึ้น และจะมีแนวทางการทำคอนเทนต์ที่ชัดเจน เช่น ช่องทำอาหาร ช่องรีวิวร้านอาหาร ช่องท่องเที่ยว  ฯลฯ ทำให้แบรนด์สินค้าสามารถเลือกว่าจ้างได้อย่างมีจุดประสงค์มากขึ้น

ตัวอย่าง Micro Influencer

  1. Mid-Tier Influencer (มีผู้ติดตาม 50,000-100,000 คน)

มักจะมีแนวทาง และตัวตนที่ชัดเจนอยู่แล้ว และยังมีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับผู้คนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รู้ว่ากลุ่มผู้ติดตามต้องการอะไร คอนเทนต์ลักษณะไหนที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ติดตามได้ ทำให้สามารถสร้างการรับรู้แบรนด์ได้ตรงกลุ่มมากยิ่งขึ้น เช่น ชอบคอนเทนต์แนวรีวิวอสังหาริมทรัพย์, แจกของรางวัล givaway ฯลฯ

ตัวอย่าง Mid-Tier Influencer

  1. Macro Influencer (มีผู้ติดตาม 100,000-1,000,000 คน)

กลุ่มคนเหล่านี้จะมีความเป็นอาชีพมากยิ่งขึ้น และมักจะโดดเด่นในช่องทางและแนวทางชัดเจน และส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ที่สร้างรายได้จากการทำคอนเทนต์ของตัวเอง ซึ่งกลุ่มนี้จะมีการสร้างการรับรู้ได้ชัดเจน เพราะการสื่อสารมักจะถูกออกแบบมาโดยผ่านกระบวนการคิด และเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด รวมไปถึงการทำคอนเทนต์ที่เป็นมืออาชีพ, ตัวตนที่โดดเด่น, และแนวทางของช่องทางที่ชัดเจน ส่วนใหญ่แล้วขั้นนี้มักจะหันมาเป็น Influencer เต็มตัวเพราะสามารถหารายได้ที่เพียงพอจากการทำคอนเทนต์ของตัวเองได้แล้ว ทำให้มักจะมีการกลั่นกรองแบรนด์สินค้า และละเอียดอ่อนในการเลือกทำคอนเทนต์ เพราะเป็นที่จับตามอง เช่น ศาสนา, การเมือง, ทัศนคติ ฯลฯ

ตัวอย่าง Macro Influencer

  1. Mega Influencer (มีผู้ติดตาม มากกว่า 1,000,000 คนขึ้นไป)

บุคคลเหล่านี้จะมีชื่อเสียงมากในด้านด้านนึง ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียง เช่น ดารา, นักกีฬา, นักร้อง ที่ผู้คนให้การยอมรับ หรือเป็น Influencer ที่มีชื่อเสียงในวงกว้างซึ่งสามารถช่วยสร้างการรับรู้แบบไม่เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย มีแรงจูงใจที่แตกต่าง เช่น ซื้อสินค้าตามดาราคนนี้ เพราะเป็นแฟนคลับ เป็นต้น 

ตัวอย่าง Mega Influencer

วิธีเลือกใช้ Influencer ให้เหมาะสม

การเลือก influencer ให้เหมาะกับสินค้าและบริการ ควรคำนึงถึงภาพลักษณ์ พฤติกรรม ผลิตภัณฑ์ และชื่อเสียงของ influencer เพราะภาพลักษณ์ของ influencer มักจะส่งผลถึงภาพลักษณ์แบรนด์โดยตรงอีกด้วย ซึ่งสามารถกำหนดเป้าหมายได้ว่า ต้องการให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักในระดับไหนจากประเภทของ influencer หรือต้องการให้เกิดการทดลองใช้ด้วยแคมเปญต่างๆที่ต้องการให้ influencer ประชาสัมพันธ์ หรือการสร้างการรับรู้ผ่านคอนเทนต์ที่ดีจาก influencer ก็จะช่วยสร้างการรับรู้ได้มากเช่นกัน

ตัวอย่าง การสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ของ Maybelline ในแคมเปญ #MaybellineNotshy ผ่าน TikTok และมีการว่าจ้าง influencer ในการประชามสัมพันธ์แคมเปญ และยังมีการแจกของรางวัลให้ผู้ร่วมสนุกเพื่อให้เกิดการทดลองใช้ได้อีกด้วย

ก่อนทำการว่าจ้าง นักการตลาดต้องวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของ influencer เหล่านั้น ว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีการเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกผ่าน rate card ทั้ง สถิติ อายุ เพศ ของผู้ติดตาม และสามารถวิเคราะห์ความสนใจจากผู้ติดตามได้ผ่านคอนเทนต์ที่ influencer โพสต์ลงบน social media

และหลังจากนั้นควรติดตามวัดผลด้วยการทำ UTM สำหรับวัดระดับการขายที่มากจาก influencer ถ้าหากสินค้ามีขายสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ ก็สามารถวัด UTM ได้ผ่าน google จะทำให้ทราบได้เลยว่า influencer คนใดมีอิทธิพลมากที่สุดต่อการซื้อสินค้า 

นอกจากการวัดผ่าน UTM แล้ว หากเป็น E-Commerce สามารถวัดผลลัพธ์ผ่านลิ้งค์ ซึ่งจะวัดได้ว่ามีคนคลิกลิ้งค์ และสนใจมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะทำให้สามารถนำไปปรับปรุง และเลือกใช้ influencer ได้ในครั้งต่อๆไป

Leave a Comment

Scroll to Top