การตลาด

Customer Data Platform (CDP) คืออะไร ทำไมทุกธุรกิจต้องมี!

Customer Data Platform หรือ CDP คือ โปรแกรมในการเก็บข้อมูลของลูกค้า เพื่อใช้รวบรวมข้อมูลลูกค้า และจัดกลุ่มข้อมูลเข้าด้วยกันเป็นโปรไฟล์ลูกค้าคนหนึ่ง ทำให้สามารถทำมาใช้สร้างกลยุทธ์การตลาดได้มากมาย เรียกได้ว่าเป็น “สมองของการตลาด” เลยก็ว่าได้ ตัวอย่าง CDP ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เช่น SABLE, SEGMENT, Indicative เป็นต้น การใช้ CDP ถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำ Digital Marketing เพราะสามารถเก็บข้อมูลที่เคยมีมาก่อนได้ทั้งการทำธุรกรรม ข้อมูลประชากร พฤติกรรม และอื่นๆ และยังสามารถทำให้ทราบถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคลในการแสดงโฆษณาซ้ำๆ (Impression) ไปจนถึงการซื้อ (Purchase) ของลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ รวมไปถึงการใช้สินค้าและบริการหลังการขายอีกด้วย ทำให้หลายๆธุรกิจนำ Customer Data Platform ไปใช้เพื่อลดปัญหาการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทำได้ยากจากการอาศัยเพียงการคาดการณ์เพียงเท่านั้น  Customer Data Platform สามารถเก็บข้อมูลใดได้บ้าง ประโยชน์ของ Customer Data Platform (CDP) วิธีการใช้ CDP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำการตลาด ตัวอย่าง Customer […]

Customer Data Platform (CDP) คืออะไร ทำไมทุกธุรกิจต้องมี! Read More »

ทฤษฎีมาสโลว์ ลำดับขั้นความต้องการ Maslow’s hierarchy of needs ลูกค้าต้องการอะไร

ทฤษฎีมาสโลว์ หรือ ลำดับขั้นความต้องการ (Maslow’s Hierarchy of Needs) เป็นทฤษฎีจิตวิทยาที่ อับราฮัม เอช. มาสโลว์ คิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1943 ในเอกสารชื่อ “A Theory of Human Motivation” Maslow ระบุว่า มนุษย์มีความต้องการทั้งหมด 5 ขั้นด้วยกัน ความต้องการทั้ง 5 ขั้น มีเรียงลำดับจากขั้นต่ำสุดไปหาสูงสุด มนุษย์จะมีความต้องการในขั้นต่ำสุดก่อน เมื่อได้รับการตอบสนองจนพอใจแล้วก็จะเกิดความต้องการขั้นสูงต่อไป ความต้องการของบุคคลจะเกิดขึ้น 5 ขั้นเป็นลำดับ ดังนี้  1. ความต้องการพื้นฐานทางด้านร่างกาย (Physiological Needs)  เป็นความต้องการลำดับต่ำสุดและเป็นพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ ความต้องการเพื่อตอบสนองความหิว ความกระหาย ความต้องการเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เรียกง่ายๆ ก็คือ ปัจจัยสี่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่พักอาศัย  รวมถึงสิ่งที่ทำให้การดำรงชีวิตสะดวกสบาย นั่นเอง  ในขั้นนี้สิ่งที่ลูกค้าต้องการ หนีไม่พ้น

ทฤษฎีมาสโลว์ ลำดับขั้นความต้องการ Maslow’s hierarchy of needs ลูกค้าต้องการอะไร Read More »

ขั้นตอน การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) ฉบับจับมือทำ!

การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าได้ โดยดูจากผู้ที่มีความสนใจ หรือผู้มีพฤติกรรมใกล้เคียงกับการซื้อมากที่สุด ในการแบ่งส่วนตลาดมักจะแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายกัน และกำหนดตามคุณสมบัติอย่างน้อยหนึ่งอย่างเพื่อให้ใกล้เคียงกับผู้ที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้ามากที่สุด  และช่วยให้กำหนด ทำความเข้าใจ ถึงลูกค้าในอุดมคติของแบรนด์มากขึ้น และสามารถระบุตลาดที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการได้  ประเภทของการแบ่งส่วนตลาด การแบ่งส่วนตลาดและการกำหนดกลุ่มเป้าหมายต้องทำความเข้าใจว่า สินค้าและบริการตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะระบุได้จากการทำวิจัยหรือข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้รับ การแบ่งส่วนทางภูมิศาสตร์ (Geographic Segmentation) แม้ว่าโดยทั่วไปเป็นกลุ่มประชากรที่ง่ายที่สุด เพราะสามารถสร้างกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันตามขอบเขตภูมิศาสตร์ เนื่องจากผู้ที่มีแนวโน้มเป็นลูกค้า จะมีความต้องการ ความชอบ และความสนใจ ที่แตกต่างกันออกไปตามภูมิศาสตร์ ทั้งสภาพอากาศ ท้องถิ่น และทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งการทำกลยุทธ์และแคมเปญการตลาดต่างๆเพื่อต่อยอดธุรกิจได้ การแบ่งส่วนทางประชากร (Demographic Segmentation) ใช้การจัดเรียงตามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ ขนาดครอบครัว เชื้อชาติ สัญชาติ และอื่นๆ การแบ่งส่วนตลาดรูปแบบนี้จะทำให้เข้าถึงวิธีการซื้อ จำนวนการซื้อ และจำนวนเงินที่ยินดีจะจ่ายต่อสินค้าและผลิตภัณฑ์ การแบ่งส่วนทางองค์กร (Firmographic Segmentation) มีลักษณะคล้ายกับการแบ่งส่วนทางประชากร แต่แตกต่างตรงที่การแบ่งส่วนประชากรจะวิเคราะห์จากข้อมูลบุคคล แต่การแบ่งส่วนทางองค์กรจะวิเคราะห์ข้อมูลขององค์กร เช่น ขนาดองค์กร จำนวนพนักงาน

ขั้นตอน การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) ฉบับจับมือทำ! Read More »

ไอเดียการหา Unique Selling Point ให้ได้เปรียบคู่แข่งในตลาด

Unique Selling Points (USP) คือ ประโยชน์ที่สินค้าและบริการสามารถมอบให้กับผู้บริโภคได้ และมีความโดดเด่นมากกว่าคู่แข่ง หรือก็คือการกำหนดข้อแตกต่างของสินค้าและบริการที่ต่างจากคู่แข่งขัน หรือไม่มีในตลาด เช่น คุณภาพ ราคา วัตถุดิบ เป็นต้น  ข้อดีของการกำหนด Unique Selling Points (USP) คือ จะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพราะในกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค จะต้องมีการประเมินสินค้าและบริการซ้ำทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้า เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจผู้บริโภคมักจะจัดกลุ่มสินค้าและบริการ และวางตำแหน่งสินค้าตามที่ตนเองพึงพอใจ ด้วยจุดเด่น หรือจุดขายของแต่ละสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและตอบโจทย์ต่อความต้องการมากที่สุด เช่น การตัดสินใจซื้อรถยนต์มักจะจัดกลุ่มราคา และความปลอดภัยในการขับขี่ เป็นต้น วิธีการค้นหา Unique Selling Points (USP) 1. การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนา USP เริ่มต้นด้วยการรู้จักกลุ่มเป้าหมาย และเหตุผลที่เลือกซื้อสินค้าและบริการในตลาดที่เรากำลังดำเนินธุรกิจอยู่ และสำรวจว่าทำไมสินค้าและบริการเหล่านั้นถึงตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 2. ความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด สิ่งที่เชื่อว่าธุรกิจของเราโดดเด่นกว่าคู่แข่งขัน และทำได้ดีกว่า โดยการเปรียบเทียบจากรายชื่อคู่แข่งขันในตลาดว่าแบรนด์เหล่านั้นตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างไร และประเมินว่าสินค้าและบริการของเราตอบสนองความต้องการในตลาดได้หรือไม่? หรือมีสิ่งที่แตกต่างออกไปหรือไม่? สิ่งเหล่านี้จะเป็นการสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงในการเข้าสู่ตลาดนั้นๆ 3. แนวโน้มของอุตสาหกรรม พิจารณาถึงโอกาสเติบโตในอุตสาหกรรม

ไอเดียการหา Unique Selling Point ให้ได้เปรียบคู่แข่งในตลาด Read More »

ออกแบบ Customer Journey อย่างไรให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้!

Customer Journey คือ เส้นทางของผู้บริโภคตั้งแต่ก่อนจะเป็นลูกค้า จนกระทั้งตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงกลับมาซื้อสินค้าและบริการนั้นซ้ำๆ ธุรกิจสามารถนำไปใช้ศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า และวางแผนการตลาด หากลยุทธ์ต่างๆ เพื่อช่วยการตัดสินใจของลูกค้า และสร้างแรงจูงใจให้เกิดการซื้อ ด้วยความต้องการ หรือ pain points ประโยชน์ของการทำ Customer Journey สามารถทำการตลาดแบบ inbound marketing โดยการสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจและมีประโยชน์ต่อลูกค้าที่มีโอกาสในการซื้อสูง และขายสินค้าในภายหลัง สามารถสร้างฐานลูกค้าใหม่ จากการค้นหาความต้องการและ pain points ของลูกค้า ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงได้ สามารถวางแผนกลยุทธ์การบริการลูกค้า และเข้าแทรกแซงได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มมูลค่าและความน่าเชื่อถือของแบรนด์ให้กับผู้ซื้อได้ สามารถสร้างกลยุทธ์การรักษาฐานลูกค้าเดิม ด้วยการตอบสนองความต้องการ แก้ไข pain points และนำมาปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้นได้ ทำให้บุคคลในองค์กรมีความเข้าใจ และมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าเดียวกัน และสามารถสร้างแผนการตลาด และการขายให้มีเป้าหมายเดียวกันได้ Customer Journey ประกอบด้วยอะไรบ้าง?รูปแบบการทำ Customer Journey สามารถทำได้หลายแบบ รูปแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ การรับรู้ (Awareness)การสร้างการรับรู้ คือ การที่กลุ่มเป้าหมาย มีความต้องการ

ออกแบบ Customer Journey อย่างไรให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้! Read More »

5 เทคนิค เลือกกลุ่มเป้าหมาย ทางการตลาด (Target Market) ให้ขายได้

หลายๆธุรกิจที่ไม่กำหนด กลุ่มเป้าหมาย (Tarket Market) หรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่กว้างเกินไป มักจะเสียโอกาสและใช้เงินลงทุนโดยไม่จำเป็น เพราะเมื่อพิจารณาถึงสถานีของเศรษฐกิจในปัจจุบัน การมีกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดที่กำหนดไว้มีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา ไม่มีใครสามารถกำหนดเป้าหมายเป็นทุกๆคนในตลาดได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ก็ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในตลาดเท่านั้น เพราะการกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดนอกจากจะยกเว้นผู้ที่ไม่เหมาะสมกับเกณฑ์ที่ธุรกิจกำหนดไว้แล้ว ยังเป็นการกำหนดเพื่อมุ่งเน้นมูลค่าของตลาด สินค้าและบริการในตลาด การสื่อสาร และกลยทธ์ทางการตลาด ที่จะสร้างโอกาสในการเข้าถึงผู้ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าในอนาคต กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด คืออะไร? กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Target Market) คือ กลุ่มผู้มีโอกาสจะเป็นลูกค้า ซึ่งเราต้องการขายสินค้าหรือบริการไปยังคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ การระบุว่าใครคือลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ โดยปกติแล้วจะกำหนดได้ด้วยข้อมูลประชากร เช่น อายุ, เพศ, ที่อยู่, ระดับรายได้, และไลฟ์สไตล์ วิธีการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย             วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง คือ การใช้กลยุทธ์ STP – Segment, Target, Position เริ่มต้นจากการแบ่ง Segment การแบ่งตลาดออกเป็นกลุ่มผู้ซื้อที่มีลักษณะเฉพาะ วิธีที่พบบ่อยที่สุด คือ การแบ่งข้อมูลตามประชากรศาสตร์, จิตวิทยา, ภูมิศาสตร์, และพฤติกรรม จากนั้นนำไปวิเคราะห์ Target

5 เทคนิค เลือกกลุ่มเป้าหมาย ทางการตลาด (Target Market) ให้ขายได้ Read More »

10 ช่องทางการขายออนไลน์ (Place) ลงขายสินค้าได้ฟรี ไม่เสียเงิน

ช่องทางการขายออนไลน์ เป็นส่วนสำคัญในยุคที่การขายของออนไลน์กำลังเริ่มเติบโต หลายๆคนคงมองหาอาชีพเสริม ซึ่งตัวเลือกที่มาแรงที่สุดคงหนีไม่พ้น การขายของออนไลน์ เพราะเป็นธุรกิจที่ลงทุนง่าย ไม่ต้องใช้ต้นทุนเยอะ ไม่ต้องมีหน้าร้านก็สามารถสร้างยอดขายแต่ และที่สำคัญยังมีช่องทางให้ขายเยอะแยะมากมาย ทั้ง Website, E-Marketplace, หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ จนเลือกขายกันไม่ถูก วันนี้ Wisdom รวม 10 ช่องทางการขายออนไลน์แบบฟรีๆ มาให้ดูกัน… Shopee แพลตฟอร์ม e-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน เป็นช่องทางที่ซื้อขายง่ายที่สุด แต่มีความปลอดภัย และระบบจ่ายเงินที่รัดกุม การเปิดร้านขายสินค้าบน Shopee ทำได้ง่ายมากๆ เพียงสมัครสมาชิกบน Website ก็สามารถวางขายสินค้าได้เลยแบบฉบับที่ใครๆก็ทำได้ จุดเด่นของ Shopee คือ มีกิจกรรมส่งเสริมการขายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โค้ดส่วนลด คูปองแทนเงินสด เหรียญ Coins และยังมีเกมส์ให้เล่นสนุกๆเพื่อรับรางวัล และยังมีฟังก์ชันการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อด้วยการติดดาวและรีวิว โดยร้านที่มีคะแนนดีก็จะได้รับการส่งเสริมการขายจากช้อปปี้ ด้วยฟังก์ชั่น “ร้านแนะนำ” ทำให้เพิ่มยอดขายได้มากขึ้น และยังมีการเชื่อมต่อกับบริการขนส่งทั่วประเทศฃ ทำให้ไม่ผู้ซื้อ – ผู้ขาย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถส่ง –

10 ช่องทางการขายออนไลน์ (Place) ลงขายสินค้าได้ฟรี ไม่เสียเงิน Read More »

ขั้นตอน วิจัยทางการตลาด (Market Research) ฉบับจับมือทำ!

ขั้นตอนการ วิจัยทางการตลาด (Market Research เป็นหนึ่งในขั้นตอนการทำ การตลาด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกธุรกิจควรมี เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจนั้นๆเติบโต แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าทำการตลาดแบบไหนถึงจะออกมาดี…วันนี้ The Wisdom มีคำตอบมาฝากกัน… อย่างที่รู้กันดีว่า การทำการตลาดคือการพาตัวเองไปเจอลูกค้าใหม่ๆ หรือรักษาฐานลูกค้าเดิม สิ่งแรกที่ควรทำคือ การรู้จักตลาดและความต้องการของตลาด แต่นักการตลาดก็มักจะไม่มีเวลาว่างไปทำสิ่งนั้นๆ ดังนั้น การทำวิจัยทางการตลาด (Market Research) ก็จะช่วยให้นักการตลาดสามารถเก็บข้อมูล และนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ให้กับธุรกิจได้ การวิจัยทางการตลาด (Market Research) คืออะไร? วิจัยตลาด คือ กระบวนการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้บริโภค เพื่อให้นักการตลาดสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้สร้างโอกาสและกลยุทธ์ทางการตลาด และยังทำให้รู้ความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจ เช่น การทำโฆษณา การแบ่งส่วนตลาด การส่งเสริมการตลาด และการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้เรารู้ว่าลูกค้าซื้อสินค้าและบริการที่ไหนและซื้ออย่างไร ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกและตัดสินใจซื้อของลูกค้า เหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ลูกค้าซื้อและไม่ซื้อสินค้าและบริการแต่ละอย่าง ทำให้นักการตลาดสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เพื่อตอบสนองปัจจัยที่กลุ่มเป้าหมายต้องการได้ ประเภทของการเก็บข้อมูลการวิจัยทางการตลาด วิจัยทางการตลาด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วิจัยปฐมภูมิ และวิจัยทุติยภูมิ 1. วิจัยปฐมภูมิ (Primary research)

ขั้นตอน วิจัยทางการตลาด (Market Research) ฉบับจับมือทำ! Read More »

เจาะลึก Customer Personas คืออะไร ทำอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร?

ปัจจุบัน การทำ Customer Persona ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อมีการแข่งขันสูงมากขึ้น การทำความเข้าใจผู้บริโภค และการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน โดยเฉพาะลักษณะของบุคคลที่จะซื้อสินค้าและบริการ ทั้งพฤติกรรม อายุ ความคิด หรือการตัดสินใจ ถือได้ว่าเป็นการสร้างโอกาสและเป็นส่วนช่วยในการประกอบความสำเร็จให้กับธุรกิจ “Customer Persona” หรือเรียกอีกอย่างว่า “Buyer Persona” คือ การใช้ข้อมูลการวิจัยทางการตลาดและการเก็บข้อมูลพฤติกรรม เพื่อนำมากำหนดบุคลิก และนำมาวิเคราะห์และอธิบายลักษณะลูกค้าเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ ด้วยการทำความเข้าใจลูกค้าด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative) เพื่อเป็นตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย หรือลูกค้าในอุดมคติ ทำให้เราเห็นภาพ เห็นชีวิต การตัดสินใจของลูกค้า และพฤติกรรมต่างๆ ทำให้สามารถมองเห็นภาพ และความคาดหวังเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีความลึกซึ้งกว่าการอธิบายลักษณะของลูกค้าเป้าหมายแบบ Segment ที่ทำการแบ่งกลุ่มแบบภาพรวมด้วยข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น สิ่งที่ทำให้ Customer Persona แตกต่างจากการเก็บข้อมูลแบบทั่วไป เพราะเน้นการทดลองว่า Persona ที่ร่างขึ้นมานั้นมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ และแบรนด์ของเราตอบสนองต่อความต้องการจริงหรือไม่ ช่องทางที่มีอยู่เหมาะสมหรือไม่ ทำให้สามารถพัฒนากลยุทธ์ได้ต่อไป ซึ่งการทำ Customer Persona ถือเป็นพื้นฐานการทำ Digital Marketing และ Content Marketing

เจาะลึก Customer Personas คืออะไร ทำอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร? Read More »

จิตวิทยาของสี (Color Psychology) ส่งผลต่อความรู้สึกอย่างไรบ้าง?

จิตวิทยาของสี (Color Psychology) มีผลต่อการรับรู้ทางจิตใจของมนุษย์ สีกับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการตลาด ซึ่งหากเลือกสีที่เหมาะสมนั้นจะช่วยให้การสื่อสารทางการตลาดของเรานั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น “ชอบสีอะไร” เป็นคำถามยอดนิยมที่เรามักเลือกใช้เมื่อต้องถามสิ่งที่ชอบจากใครสักคน หรือแม้แต่ตัวเราเอกก็ถูกถามเช่นนี้อยู่บ่อยๆ และแน่นอนค่ะเราทุกคนต่างมีสีที่โปรดปรานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และรู้ไหมว่าอะไรดลจิตดลใจให้เรามักเลือกซื้อ หรือเลือกใช้สีนั้นตลอด บทความจะทำให้คุณรู้ว่า “สี” ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกมากกว่าที่เราคิด เพราะมีวิจัยทางวิทยาศาสตร์มานานแล้วว่า “จิตวิทยาสีกับความรู้สึกนั้นมีความสัมพันธ์กัน” ทำให้ศาสตร์สมัยใหม่ๆ หลายด้านเลือกนำจิตวิทยาสีมาใช้ในการออกแบบสินค้า ผลิตภัณฑ์ อาคารสถานที่ สื่อ ไปจนถึงใช้เพื่อการบำบัดร่างกายและจิตใจ ในปี 1966 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษอย่างเซอร์ไอแซค นิวตันค้นพบว่า เมื่อแสงสีขาวบริสุทธิ์ส่องผ่านปริซึมจะทำให้เกิดแสงสีอื่นๆ ที่มองเห็นได้ตามมา แถมนิวตันยังพบอีกด้วยว่าแสงแต่ละชนิดก็มีคลื่นแสงที่แตกต่างกันออกไปไม่ปะปนกัน การทดลองเพิ่มเติมยังแสดงให้เห็นว่าแสงสามารถรวมกันเป็นสีอื่นได้ เช่น แสงสีแดงผสมกับแสงสีเหลืองทำให้เกิดสีส้ม และบางสี เช่นสีเขียวและสีม่วงแดงจะเป็นสีที่ตัดกัน เป็นต้น ต่อมา นักวิจัย Andrew Elliot และ Markus Maier ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “เมื่อพิจารณาจากการมองเห็นสี จิตวิทยาสีกับความรู้สึกอาจมีความสัมพันธ์กัน” แต่กลับเป็นเรื่องแปลกที่ไม่ค่อยมีงานวิจัยด้านจิตวิทยาสีออกมามากนัก อาจเป็นเพราะในอดีตวงการวิทยาศาสตร์อาจยังไม่ให้การยอมรับศาสตร์ด้านจิตวิทยาอย่างแพร่หลาย แต่ไม่ว่าอย่างไรเรื่องของสีและความรู้สึกเชิงจิตวิทยาก็ยังได้รับความสนใจมาตลอด จนกระทั่งปัจจุบันมีการนำสีไปใช้ในการออกแบบและใช้งานในชีวิตประจำวันหลากหลายด้าน โดยเลือกใช้สีที่สัมพันธ์กับความรู้สึกและพฤติกรรมของมนุษย์ จนกลายมาเป็นแนวคิดเรื่องสีและจิตวิทยาของสีที่เราคุ้นเคยกันดีในปัจจุบัน สีมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก อย่างไร?  แม้ว่าการรับรู้สีจะค่อนข้างเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ผลกระทบบางอย่างก็มีความหมายที่เป็นสากล เฉดสีต่างๆสามารถส่งผลกระทบได้หลากหลายตั้งแต่การกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึก ของเราไปจนถึงการทำให้วิตกกังวล  ตัวอย่างสีที่ส่งผลต่อความรู้สึก

จิตวิทยาของสี (Color Psychology) ส่งผลต่อความรู้สึกอย่างไรบ้าง? Read More »

Scroll to Top