จิตวิทยาการตลาด

KOL คืออะไร ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือก KOL มีอะไรบ้าง (พร้อมตัวอย่าง)

KOls ย่อมาจาก Key opinion leaders หมายถึง ผู้ที่มีอิทธิพลในการชี้นำบุคคล หรือกลุ่มคนที่มีบทบาทในการทำให้คนจำนวนหนึ่งไปถึงคนจำนวนมากเชื่อถือ หรือคล้อยตามได้ โดยเฉพาะในยุคที่โซเชียล มีเดีย เป็นแรงในการขับเคลื่อนตลาด ทำให้ Kols กลายเป็นรูปแบบสำคัญที่มีผลต่อการทำธุรกิจในปัจจุบัน ข้อดีของการใช้ KOLs ช่วยในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายKOLs สามาถช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ และผู้ติดตามของ KOLs เองได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นคนที่มีความสนใจคล้ายคลึงกัน หากแบรนด์สามารถเลือก KOLs ได้ตรงตามความสนใจก็จะทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากนั่นเอง ดึงดูดการมีส่วนร่วม (Engagement) ได้ง่ายการรีวิวจากบุคคลอื่นที่ไม่ได้มาจากจะทำให้ได้รับความสนใจ และเกิดการมีส่วนร่วมได้ง่ายมากกว่า เพราะผู้ติดตามสามารถแสดงความคิดเห็นต่างๆได้อย่างไม่มีขอบเขต และเกิดการแชร์ต่อเนื่อง แล้วกระจายต่อๆเป็นวงกว้าง เลือก KOLs ได้ถูกต้องจะยิ่งน่าเชื่อถือมากขึ้นความน่าเชื่อถือของ KOLs มีผลต่อแบรนด์ด้วยเช่นกัน KOLs ผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือความสนใจ เฉพาะด้านจะทำให้แบรนด์น่าเชือถือ เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มารีวิวอาหารเสริม เป็นต้น เลือก KOLs อย่างไรให้เหมาะกับแบรนด์? แน่นอนว่าใครก็สามารถเป็น KOLs ได้ ยิ่งในยุคโซเชียล มีเดียที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ […]

KOL คืออะไร ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือก KOL มีอะไรบ้าง (พร้อมตัวอย่าง) Read More »

ไขข้อสงสัย? ทฤษฎีแรงจูงใจทางจิตวิทยา เกี่ยวข้องกับการตลาดอย่างไร? นำมาประยุกต์ใช้อย่างไร?

ทฤษฎีแรงจูงใจ คือ การศึกษาความต้องการของมนุษย์ และทำความเข้าใจ เพื่อผลักดันให้มนุษย์บรรลุเป้าหมาย และผลลัพธ์ได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตในสังคม โดยเฉพาะในด้านธุรกิจ และการจัดการ ความต้องการของมนุษย์นั้นมีความแตกต่างกัน ดังนี้ What are Needs – สิ่งที่จำเป็นและต้องการโดยเฉพาะ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และความต้องการรอง ได้แก่ สังคม วัฒนธรรม เป็นต้น What are Wants – ความต้องการที่นอกเหนือจากความต้องการที่จำเป็น เช่น ประเภทของอาหาร เป็นต้น What are Goals – เป้าหมายในชีวิตที่ต้องการทำให้สำเร็จ แรงจูงใจสำคัญอย่างไรในด้านการตลาด? นักการตลาดจะต้องเข้าใจแรงจูงใจที่จะสามารถทำให้กลุ่มเป้าหมายเพลิดเพลินต่อการซื้อ นอกจากนี้ยังมีแรงจูงใจที่แตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ดังนี้ Approach Conflict คือ ความขัดแย้งที่พึงยอมรับ ที่บุคคลต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ทุกตัวเลือกจะให้ผลทางบวก หรือมีแรงจูงใจเชิงบวกทั้งสิ้น เช่น การเลือกเมนูในร้านอาหาร เป็นต้น Approach Avoidance Conflict

ไขข้อสงสัย? ทฤษฎีแรงจูงใจทางจิตวิทยา เกี่ยวข้องกับการตลาดอย่างไร? นำมาประยุกต์ใช้อย่างไร? Read More »

Service Mind คืออะไร? สำคัญกับงานบริการอย่างไร?

Service Mind ถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริการ คือการให้บริการลูกค้าด้วยใจอย่างเต็มเปี่ยม และทุ่มเทแรงใจ เพื่อเอาใจใส่ต่อการบริการให้สมกับหน้าที่ผู้ให้บริการ  Service Mind คืออะไร? การให้บริการที่ดี มีคุณภาพ และยังทำให้ลูกค้าประทับใจ เริ่มต้นจากการมี Service Mind ซึ่งเป็นหัวใจของการให้บริการที่ทุกธุรกิจ และผู้ให้บริการทุกคนควรมี  Service Mind หลายๆคนอาจจะนึกถึง การให้บริการของพนักงานตามห้างสรรพสินค้า โรงแรม แต่จริงๆแล้ว Service Mind สามารถใช้งานภายในองค์กรได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานฝ่ายบัญชี ขนส่ง การตลาด หรือแม้แต่ฝ่ายผลิต ก็ควรคำนึงถึงการบริการลูกค้าด้วย Service Mind สำคัญอย่างไร? ในยุคที่การแข่งขันในธุรกิจต่างๆมีความรุนแรง ไม่ว่าจะสินค้าหรือการบริการแบบไหน Service Mind นั้น จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ธุรกิจมีผู้ใช้งาน มีลูกค้าได้เช่นกัน เพราะService Mind นั้นสามารถ “สร้างมูลค่า” ให้กับธุรกิจได้มาก ยิ่งบริการดี มีคุณภาพ ผู้บริโภคก็ยอมจ่าย เพื่อให้ตัวเองรู้สึกพึงพอใจนั่นเอง  โดยเฉพาะในธุรกิจรูปแบบให้บริการ เช่น คลินิกความงาม เป็นต้น ยิ่งต้องให้ความสนใจต่อการบริการ

Service Mind คืออะไร? สำคัญกับงานบริการอย่างไร? Read More »

Podcast คืออะไร ช่วยในการโปรโมทหรือทำการตลาดได้อย่างไร

พอดแคสต์ หรือ Podcast คือ ไฟล์เสียงดิจิตอลที่เผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ต คล้ายคลึงกับการจัดวิทยุ แต่สำหรับ Podcast จะอยู่บนออนไลน์ ทำให้สามารถฟังได้ตลอดเวลา และฟังเมื่อไหร่ก็ได้ หรือที่เรียกว่า On-Demand Program โดยผู้จัดจะมีหัวข้อ มีรูปแบบการจัดรายการที่แตกต่างกันออกไป มี่ความยาวประมาณ 5-30 นาทีต่อตอน  ทำไม Podcast จึงน่าสนใจ? Pod Cast ได้รับความนิยมในไทย หลังจากที่เริ่มมีผู้จัดรายการเป็นภาษาไทยมากขึ้น ทำให้คนไทยสนใจเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน จากรายงานของ Adobe Analytics พบว่า มีคนฟัง Podcast มากขึ้นจากการอ้างอิงผลสำรวจจากชาวสหรัฐอเมริกา จำนวน 1,008 คน สะท้อนพฤติกรรมการฟัง Podcast รวมไปถึงข้อมูล Comscore ของผู้ใช้งานบนมือถือจำนวน 193 ล้านคนต่อเดือน ในช่วงเดือนมกราคม 2561 – พฤษภาคม 2562 ผลการศึกษาพบว่า การใช้งานแอพ Podcast บนมือถือเพิ่มสูงขึ้น 60% โดย

Podcast คืออะไร ช่วยในการโปรโมทหรือทำการตลาดได้อย่างไร Read More »

รู้หรือไม่? Design Thinking คืออะไร เริ่มต้นทำได้อย่างไร? (พร้อมตัวอย่าง)

Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ คือ กระบวนการทางความคิดในการพยายามทำความเข้าใจสมมติฐานต่างๆ และการกำหนดปัญหา และวิธีแก้ปัญหา เป็นการพัฒนาวิธีการคิดและการทำงานเป็นทีม เพื่อให้เกิดความสนใจอย่างลึกซึ่ง ในการพัฒนาความเข้าใจทีมที่กำลังทำงานอยู่ร่วมกัน ช่วยพัฒนาการสังเกต ความเห็นอกเห็นใจในการทำงานร่วมกันนั่นเอง ประโยชน์ของ Design Thinking ช่วยพัฒนากระบวนการแก้ไข้ปัญหา และการทำงานเป็นลำดับขั้นตอน พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และการคิดหาวิถีทางหรือแชร์ไอเดียในการทำงานร่วมกันเป็นทีม รู้จักการคิดวิเคราะห์ ทำให้มีไอเดียที่หลากหลาย และมีทางเลือกที่ดีที่สุดในการทำงานได้มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดกระบวนการทำงาน และนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อนำมาใช้ในการทำงานได้ มีแผนสำรองในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว องค์กรทำงานได้อย่างมีระบบ และทำงานได้มีประสิทธิภาพอีกด้วย บุคลากรมีประสิทธิภาพ มีศักยภาพ และมีทักษะที่หลากหลาย กระบวนการออกแบบ Design Thinking กระบวนการออกแบบ design thinking นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบ 3 ขั้น ไปจนถึง 7 ขั้น ทุกรูปแบบมีความคล้ายคลึงมากที่สุด และใช้หลักการเดียวกันที่อ้างอิงจาก Herbert Simon ผู้ชนะรางวัลโนเบลในสาขา The Sciences of the Artificial ในปี 1969

รู้หรือไม่? Design Thinking คืออะไร เริ่มต้นทำได้อย่างไร? (พร้อมตัวอย่าง) Read More »

จิตวิทยาของสี (Color Psychology) ส่งผลต่อความรู้สึกอย่างไรบ้าง?

จิตวิทยาของสี (Color Psychology) มีผลต่อการรับรู้ทางจิตใจของมนุษย์ สีกับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการตลาด ซึ่งหากเลือกสีที่เหมาะสมนั้นจะช่วยให้การสื่อสารทางการตลาดของเรานั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น “ชอบสีอะไร” เป็นคำถามยอดนิยมที่เรามักเลือกใช้เมื่อต้องถามสิ่งที่ชอบจากใครสักคน หรือแม้แต่ตัวเราเอกก็ถูกถามเช่นนี้อยู่บ่อยๆ และแน่นอนค่ะเราทุกคนต่างมีสีที่โปรดปรานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และรู้ไหมว่าอะไรดลจิตดลใจให้เรามักเลือกซื้อ หรือเลือกใช้สีนั้นตลอด บทความจะทำให้คุณรู้ว่า “สี” ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกมากกว่าที่เราคิด เพราะมีวิจัยทางวิทยาศาสตร์มานานแล้วว่า “จิตวิทยาสีกับความรู้สึกนั้นมีความสัมพันธ์กัน” ทำให้ศาสตร์สมัยใหม่ๆ หลายด้านเลือกนำจิตวิทยาสีมาใช้ในการออกแบบสินค้า ผลิตภัณฑ์ อาคารสถานที่ สื่อ ไปจนถึงใช้เพื่อการบำบัดร่างกายและจิตใจ ในปี 1966 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษอย่างเซอร์ไอแซค นิวตันค้นพบว่า เมื่อแสงสีขาวบริสุทธิ์ส่องผ่านปริซึมจะทำให้เกิดแสงสีอื่นๆ ที่มองเห็นได้ตามมา แถมนิวตันยังพบอีกด้วยว่าแสงแต่ละชนิดก็มีคลื่นแสงที่แตกต่างกันออกไปไม่ปะปนกัน การทดลองเพิ่มเติมยังแสดงให้เห็นว่าแสงสามารถรวมกันเป็นสีอื่นได้ เช่น แสงสีแดงผสมกับแสงสีเหลืองทำให้เกิดสีส้ม และบางสี เช่นสีเขียวและสีม่วงแดงจะเป็นสีที่ตัดกัน เป็นต้น ต่อมา นักวิจัย Andrew Elliot และ Markus Maier ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “เมื่อพิจารณาจากการมองเห็นสี จิตวิทยาสีกับความรู้สึกอาจมีความสัมพันธ์กัน” แต่กลับเป็นเรื่องแปลกที่ไม่ค่อยมีงานวิจัยด้านจิตวิทยาสีออกมามากนัก อาจเป็นเพราะในอดีตวงการวิทยาศาสตร์อาจยังไม่ให้การยอมรับศาสตร์ด้านจิตวิทยาอย่างแพร่หลาย แต่ไม่ว่าอย่างไรเรื่องของสีและความรู้สึกเชิงจิตวิทยาก็ยังได้รับความสนใจมาตลอด จนกระทั่งปัจจุบันมีการนำสีไปใช้ในการออกแบบและใช้งานในชีวิตประจำวันหลากหลายด้าน โดยเลือกใช้สีที่สัมพันธ์กับความรู้สึกและพฤติกรรมของมนุษย์ จนกลายมาเป็นแนวคิดเรื่องสีและจิตวิทยาของสีที่เราคุ้นเคยกันดีในปัจจุบัน สีมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก อย่างไร?  แม้ว่าการรับรู้สีจะค่อนข้างเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ผลกระทบบางอย่างก็มีความหมายที่เป็นสากล เฉดสีต่างๆสามารถส่งผลกระทบได้หลากหลายตั้งแต่การกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึก ของเราไปจนถึงการทำให้วิตกกังวล  ตัวอย่างสีที่ส่งผลต่อความรู้สึก

จิตวิทยาของสี (Color Psychology) ส่งผลต่อความรู้สึกอย่างไรบ้าง? Read More »

Scroll to Top