ทำความรู้จัก Platform Business Model คืออะไร? เริ่มทำธุรกิจแพลตฟอร์มควรดูอะไรบ้าง?

Platform หรือ แพลตฟอร์ม เป็นรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ที่ช่วยสร้าง “มูลค่าเศรษฐกิจ” มากกว่า 2 กลุ่มธุรกิจขึ้นไป เป็นเสมือนตัวกลางระหว่างผู้บริโภค (consumer) และ ผู้ผลิต (producers) คอยอำนวยความสะดวกต่างๆ ตัวอย่างเช่น Airbnbm, PayPal, Shopee, Grab ,Facebook เป็นต้น

ฟังก์ชันของธุรกิจ Platform มีรูปแบบการทำธุรกิจต่างจากเดิมที่ธุรกิจจะมีความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง เปลี่ยนผันเป็นการสร้างปฎิสัมพันธ์กับลูกค้า โดยมีธุรกิจ Platform มาเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้ซื้อ บริการเครื่องมือต่างๆที่สำคัญและปล่อยให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วม และมีบทบาท

คำจัดกัดความของธุรกิจ Platform

ธุรกิจรูปแบบ Platform เป็นโมเดลธุรกิจที่สร้างมูลค่าและอำนายความสะดวกในการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป ซึ่งมักจะเป็นผู้บริโภคและผู้ผลิต เช่นเดียวกับ Uber, Facebook, Alibaba ธุรกิจเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ไม่มีคลังสินค้า และควบคุมสินค้าคงคลังโดยตรงผ่านซัพพลายเชน เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนโดยลดต้นทุนการทำธุรกรรมและการใช้นวัตกรรมเพื่อลดต้นทุนการสร้างแอพลิเคชั่นส่วนตัว รวมไปถึงลดความผิดพลาดจากการสร้างแอพลิเคชั่นอีกด้วย

Platform ไม่ใช่แค่การใช้เทคโนโลยี ไม่ใช่เพียงแค่ซอฟต์แวร์ แต่คือ “ผู้คน” ที่มารวมตัวกันเพื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขายผ่านทางแพลตฟอร์ม ทำให้ Platform กลายเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างมูลค่าได้จำนวนมาก

ทำไมธุรกิจรูปแบบ Platform จึงน่าสนใจ?

ธุรกิจรูปแบบ Platform ที่ประสบความสำเร็จมักไม่ได้ถือครองสินทรัพย์ที่เป็นชิ้นเป็นอัน เช่น Airbnb, Uber และ Instagram แต่ก็สามารถสร้างเม็ดเงินได้มหาศาล ทำให้ธุรกิจรูปแบบนี้กลายเป็นที่น่าสนใจ และน่าจับตามองทั่วโลก และในไทย 

3 แพลตฟอร์ม ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Google, Apple, และ Facebook ที่กลายเป็นธุรกิจที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในปี 2559 นอกจากนี้ Forbes ยังรายงานว่า 11 ใน 20 อันดับแรกของธุรกิจที่มีมูลค่าสูงที่สุดในต้นปี 20117 ยังเป็นธุรกิจรูปแบบแพลตฟอร์มอีกด้วย

การเสนอซื้อขายหุ้น IPO และการเข้าซื้อกิจการของรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่มักจะเป็นการซื้อขายธุรกิจ Start up ที่มีการดำเนินการธุรกิจรูปแบบ Platform อีกด้วย เช่น Amazon, eBay, Instagram, YouTube, Twitch, Snapchat, Slack, WhatsApp, Waze, Uber, Lyft, Airbnb, Pinterest, Square, Social Finance, GitHub, Kickstarter, ZocDoc และอื่นๆอีกมากมาย

และการเติบโตธุรกิจรูปแบบ Platform ยังเติบโตในประเทศอื่นๆด้วย อย่างประเทศจีน ที่มีแพลตฟอร์ม Alibaba, Tencent, Baidu และ Rakuten ที่ครองตลาดทั้งในจีน และประเทศอื่นๆในทวีปเอเชีย 

ตัวอย่างเช่น Alibaba ได้ควบคุมตลาด e-commerce ของจีนมากถึง 80%, baidu มีการค้นหาในจีนมากกว่า 70%, Tencent เป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในเอเชีย, Wechat มีผู้ใช้งานกว่า 850 ล้านคนและยังเป็นบริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นต้น

รูปแบบของธุรกิจ Platform มีรูปแบบใดบ้าง?

แพลตฟอร์มมีหลายรูปแบบ แต่ทั้งหมดล้วนมีอิทธิพลเหนืออุตสาหกรรมของตน

ขอบคุณรูปภาพจาก applicoinc

  1. Services marketplace แพลตฟอร์มธุรกิจบริการตลาดการค้า
  2. Product marketplace แพลตฟอร์มธุรกิจการค้าสินค้า
  3. Payment platform แพลตฟอร์มธุรกิจการชำระเงิน (P2P หรือ B2C)
  4. Investment platform แพลตฟอร์มธุรกิจการลงทุน หรือการแลกเปลี่ยนเงินตา ไม่ว่าจะเป็นตราสาร หรือเงินกู้ และอื่นๆ
  5. Social networks แพลตฟอร์มที่เป็นการเชื่อมต่อการภายในสังคม หรือคอมมูนิตี้
  6. Communication platform แพลตฟอร์มการสื่อสารทางสังคมโดยตรง (เช่น การส่งข้อความ)
  7. Development platforms

– Closed development platform แพลตฟอร์มแบบปิด สร้างขึ้นเพื่อการเข้าถึงข้อมูล (ปกติจะอยู่ในรูปแบบ API)

– Controlled development platform แพลตฟอร์ม (ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นในสภาพแวดล้อมที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการควบคุมการทำงาน)
– Open development platform แพลตฟอร์มฟรี หรือ open source

  1. Content platforms

– Social แพลตฟอร์มเนื้อหาที่มุ่งเน้นการค้นพบและโต้ตอบกับบุคคลอื่นๆ

– Media แพลตฟอร์มเนื้อหาที่มุ่งเน้นการค้นพบและโต้ตอบกับบุคคลอื่นๆในรูปแบบสื่อ (ภาพ, วีดีโอ)

  1. Social gaming platform แพลตฟอร์มการโต้ตอบการเล่นเกมส์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้หลากหลายคน ทั้งการแข่งขันและการร่วมมือกัน

เริ่มต้นธุรกิจ Platform ควรดูอะไรบ้าง?

แม้จะมีธุรกิจมากมายประสบความสำเร็จในฐานะธุรกิจ Platform แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจคือ “การพัฒนากลยุทธ์” การทำ Platform จะต้องเน้นคุณค่าและเอกลักษณ์ของตัวเอง และหลีกเลี่ยงการเรียนแบบธุรกิจอื่นๆ เพื่อให้ธุรกิจมีแนวทางของตนเอง

สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนเริ่มทำธุรกิจ คือ

  1. แพลตฟอร์มของเราจะสนับสนุนการแลกเปลี่ยนมูลค่าอย่างไร?
  2. แพลตฟอร์มของเราจะดึงดูดผู้ใช้งานอย่างไร?
  3. แพลตฟอร์ทจะส่งเสริมการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิตได้อย่างไร? และเพิ่มมูลค่าได้อย่างไร?

การแลกเปลี่ยนมูลค่าภายใน Platform

ผู้ใช้งานของแพลตฟอร์มจะได้รับประโยชน์ในด้านใดบ้าง เช่น Grab food มีการแลกเปลี่ยนระหว่างร้านอาหาร คนขับ และผู้ใช้งาน แล้วแต่ละฝ่ายได้ประโยชน์อะไรบ้าง
– ร้านอาหารได้ออเดอร์ที่เพิ่มมากขึ้น 

– คนขับได้ค่าขับรถส่งสินค้าระหว่างร้านอาหารและผู้ใช้
– ผู้ใช้งาน ได้ความสะดวกสบาย

– Grab food ได้รับค่า GP จากร้านอาหารตามจำนวนออเดอร์

การดึงดูดผู้ใช้งานและผลักดันแพลตฟอร์มให้เป็นที่รู้จัก

ผู้ใช้จะไม่มาที่แพลตฟอร์มหากแพลตฟอร์มไม่มีคุณค่ามากพอ และหากไม่มีผู้คนมาที่แพลตฟอร์มก็จะไม่มีผู้ใช้งานอื่นๆตามมาด้วย ตัวอย่างเช่น Grab food หากไม่มีคนขับคอยรับส่งอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานก็จะรู้สึกว่าแพลตฟอร์มนี้ไม่ได้ตอบโจทย์ และหันไปใช้ช่องทางอื่น เมื่อมีมีผู้ใช้งาน ร้านอาหารก็จะรู้สึกว่า แพลตฟอร์มนี้ไม่สามารถสร้างยอดขายให้กับร้านของตนได้ เป็นต้น

การส่งเสริมปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งาน

แพลตฟอร์มที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้งาน ตั้งแต่ผู้บริโภคไปจนถึงผู้ผลิต อย่างข้อมูลร้านอาหารต่างๆบน Grabfood จะมีเมนูอาหาร มีการเลือกรายละเอียดต่างๆ สามารถโต้ตอบกับคนขับได้ และยังมีการให้เรทร้านอาหารต่างๆ ตั้งแต่ 1 ดาว ไปจนถึง 5 ดาว

ตัวอย่าง Platform Business Model Canvas

ขอบคุณรูปภาพจาก theplatformcanvas

ขอบคุณรูปภาพจาก TDC

ตัวอย่างธุรกิจรูปแบบ Platform ในช่วง 500 ปีที่ผ่านมา

ธุรกิจแพลตฟอร์มใน S&P 500 ในช่วงสี่สิบปีที่ผ่านมา

ขอบคุณรูปภาพจาก applicoinc

ตัวอย่างธุรกิจรูปแบบ Platform ในประเทศไทยปี 2020

ขอบคุณรูปภาพจาก TDC

Leave a Comment

Scroll to Top