big data คืออะไร

Big Data คืออะไร ลักษณะข้อมูลเป็นอย่างไร (พร้อมตัวอย่างข้อมูล)

Big Data คืออะไร มีกี่ประเภท มีประโยชน์และความสำคัญอย่างไร มาเรียนรู้เนื้อหาเชิงลึกนี้ไปพร้อมกันได้เลย ถ้าหากพูดถึงการจัดการข้อมูลมูลในรูปแบบเดิมที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนนั้นเมื่อก่อนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยก็ว่าได้ แต่ในปัจจุบันมีข้อมูลมากมายที่ถูกสร้างขึ้นและนำเข้าระบบ Computer จนทำให้ข้อมูลนั้นมีขนาดใหญ่มากขึ้น

คุณสมบัติหรือลักษณะสำคัญมีอะไรบ้าง

การพิจารณาว่าข้อมูลชนิดใดเป็นข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data นั้น สามารถวิเคราะห์ได้จากปริมาณของข้อมูล ความเร็ว ความหลากหลาย ความถูกต้องของข้อมูล และคุณค่าของข้อมูลที่ได้มา ซึ่งแต่ละส่วนจะมีรายละเอียดดังนี้

  • ปริมาณข้อมูล (Volume) หมายถึง การนำผลลัพท์ที่ได้จากข้อมูลที่มี จำเป็นต้องใช้ข้อมูลปริมาณมหาศาลในการนำมาประมวลผล ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากของการวิเคราะห์
  • ข้อมูลที่หลากหลาย (Variety) หมายถึง รูปแบบของข้อมูลในแต่ประเภทที่มีความหลากหลาย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆด้วยกัน คือ
  1. ข้อมูลเชิงโครงสร้าง (structured data) คือ ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบตาราง เช่น ไฟล์ excel, หรือ csv เป็นต้น
  2. ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีการนิยามโครงสร้างของข้อมูลไว้ มักจะอยู่ในรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์
  • ความเร็ว (Velocity) หมายถึง ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงความเร็วในการเพิ่มขึ้นของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มี ซึ่งในส่วนของความเร็วจะเป็นตัวกำหนดศักยภาพของข้อมูล
  • เปลียนแปลงได้ (Variability) หมายถึง ข้อมูลสามารถในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามการใช้งาน หรือสามารถคิดวิเคราะห์ได้จากหลายแง่มุม และรูปแบบในการจัดเก็บข้อมูลก็อาจจะต่างกันออกไปในแต่ละแหล่งของข้อมูล
  • ความถูกต้อง (Veracity) หมายถึง มีความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาข้อมูลและความถูกต้องของชุดข้อมูล มีกระบวนการในการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับผลลัพท์การวิเคราะห์ข้อมูล
  • คุณค่า (Value) หมายถึง ข้อมูลมีประโยชน์และมีความสัมพันธ์ในเชิงธุรกิจ ข้อมูลที่มีประโยชน์จะต้องเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่าไม่ใช่ทุกที่มีการเก็บนั้นจะมีปรพโยชน์ในการนำมาวิเคราห์

ตัวอย่างข้อมูล

ปัจจุบันรอบตัวเรานั้นเรียกได้ว่าเข้าสู่ยุคของข้อมูลแบบเต็มรูปแบบแล้วก็ว่าได้ เพราะในแต่ละวันมีข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลและหลากหลาย ซึ่งต่อไปนี้เราจะมาดูตัวอย่างของข้อมูลขนาดใหญ่ให้เข้าใจกันได้มากขึ้น

  • ข้อมูลใน Facebook ซึ่งในแต่ละวินาทีนั้นมีปริมาณโพสที่เพิ่มขึ้นมากว่า 54,977 โพสต่อวินาที
  • ข้อมูลทั้งหมดของประชากรที่รัฐบาลในแต่ละประเทศทำการจัดเก็บไว้ เช่น ข้อมูลใบขับขี่ ข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น
  • ข้อมูลของสภาพภูมิอากาศที่เก็บไว้ เพื่อใช้ในการพยากรณ์อากาศ ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพอากาศ หรือไปจนถึงการเข้าใจรูปแบบต่างๆทางธรรมชาติ เป็นต้น
  • ข้อมูลของธนาคารที่มีการเก็บรายการเงินทั้งหมดของธนาคาร เช่น บัญชีเงินฝาก ข้อมูลเครดิตทางการเงิน ข้อมูลการใช้จ่าย ข้อมูลธุรกรรมต่างๆ เป็นต้น

ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีข้อเสีย
ช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นคุณภาพของข้อมูลนั้นต้องเลือกข้อมูลที่ดีในการนำมาวิเคราะห์
เพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นใช้ความต้องการของฮาร์ดแวร์สูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บ หรือระบบเครือข่ายที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลมูลที่ใหญ่มากขึ้น
ลดต้นทุนความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์: การจัดเก็บข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนและจำนวนมากสามารถทำให้บริษัทเป็นเป้าหมายที่น่าดึงดูดยิ่งขึ้นสำหรับผู้โจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่หรือเพื่อวัตถุประสงค์ที่ใช้ในทางที่ผิดได้
ปรับปรุงการบริการลูกค้าปัญหาในการย้ายจากระบบเดิมมาเป็นระบบใหม่ เพื่อให้สามารถรองรับข้อมูลได้ในอนาคต ซึ่งหลายบริษัทเก็บข้อมูลในรูปแบบที่ไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

หากใครอยากเรียนรู้เกี่ยวกับการนำ Big Data มาใช้ในการทำธุรกิจหรือทางการตลาดนั้นสามารถติดต่อสอบถามมาที่เว็บไซต์หรือไลน์ของ The Wisdom Academy ได้เลย

ที่มาเพิ่มเติม: https://www.zettasphere.com/mind-boggling-stats-for-1-second-of-internet-activity/

Leave a Comment

Scroll to Top