เทคนิคเขียนแผนธุรกิจสำหรับ Start-UP ให้ประสบความสำเร็จ พร้อมองค์ประกอบง่ายๆ แต่ชัดเจน!

แผนธุรกิจ หรือ Business Plan คือเครื่องมือที่สำคัญในการวางแผนธุรกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจ SMEs หรือ Start Up ซึ่งเป็นการรวบรวมแนวความคิด กระบวนการคิดและพิจารณา และการตัดสินใจที่ในการทำธุรกิจ และวิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจ เพื่อไว้เป็นคู่มือในการทำธุรกิจ เพื่อเป็นตัวช่วยในการวางโครงสร้างและตัดสินใจทำสิ่งต่างๆให้ธุรกิจเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง

แผนธุรกิจจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้ และยังช่วยให้การเริ่มต้นทำธุรกิจง่ายมากยิ่งขึ้น หากคุณใช้แผนธุรกิจเป็นแผนงานสำหรับการจัดการโครงสร้าง ดำเนินการ และขยายธุรกิจใหม่ และเป็นวิธีคิดที่จะผ่านองค์ประกอบสำคัญของธุรกิจได้อีกด้วย และยังช่วยให้นักลงทุนสนใจ หรือมีพันธมิตรทางธุรกิจรายใหม่ และนักลงทุนยังสามารถมั่นใจได้อีกว่าการลงทุนนั้นคุ้มค่า และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในอนาคต

องค์ประกอบของแผนธุรกิจแบบดั้งเดิม

  1. บทสรุปผู้บริหาร (Executive summary)
    เป็นการรวบรวมข้อมูลสำคัญว่าบริษัทของคุณคืออะไร และทำไมบริษัทถึงประสบความสำเร็จ รวมกับพันธกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับทีมงาน ผู้จัดทำ พนักงานในองค์กร หรือแม้แต่ที่ตั้งบริษัท และข้อมูลการเงินฉบับย่อ และแผนการในการทำธุรกิจในอนาคต
  2. ภาพรวมธุรกิจ (Company description)
    การให้คำอธิบายสั่นๆเพื่อให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับบริษัทของคุณ ลงรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่ต้องการแก้ไข และกลุ่มเป้าหมาย องค์กร และผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจ และอธิบายข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน
  3. วิเคราะห์การตลาด (Market Analysis)
    วิเคราะห์ตลาด แนวโน้มอุตสาหกรรม และตลาดเป้าหมายที่ต้องการ พร้อมทั้งศึกษาการแข่งขันในตลาด วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของคู่แข่ง และธุรกิจ เพื่อหาข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม SWOT Analysis คืออะไร พร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ในธุรกิจจริง
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการวิจัยทางการตลาด (Market Research) ฉบับจับมือทำ!
  4. แผนการตลาด (Marketing Plan)
    การเขียนแผนธุรกิจจำเป็นต้องวางแผนการตลาดให้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการบริหาร และวิเคราะห์หาช่องทางที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย, การแบ่งส่วนตลาด, กำหนดตำแหน่งธุรกิจ, การวาง Marketing Mix (4P’s) และการสร้างแบรนด์
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) ฉบับจับมือทำ!
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม 5 เงื่อนไขที่ใช้ในการเลือกกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Target Market)
  5. แผนการบริหารจัดการภายในองค์กร (Organization and management)
    เมื่อมีการวางแผนในด้านปัจจัยต่างๆเพื่อเพิ่มธุรกิจให้เติบโต การบริหารในองค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญ และควรเน้นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เช่น การมีสถานที่ตั้งที่เหมาะสมกับการดำเนินงาน, โครงสร้างผู้บริหารและผู้บริหารและผู้รับผิดชอบต่อการดำเนินการต่างๆ
  6. แผนการดำเนินงาน (Operations Plan)
    แผนสำหรับการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับการสร้างประสิทธิภาพจนเกิดผลลัพธ์อันน่าพึงพอใจ เช่น มีการวางระบบของแต่ละฝ่ายงาน วางหน้าที่ชัดเจน, กระจายระบบการทำงาน, แบ่งกะเวลาเพื่อให้การผลิตเพียงพอต่อความต้องการ, การสร้างมาตรฐานในการทำงานอย่างชัดเจน, มีกฎระเบียบให้พนักงานปฏิบัติตามไปในทิศทางเดียวกัน เป็นต้น
  7. แผนการเงิน (Financial Plan)
    การทำธุรกิจ เงินเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุม และมีวิธีการบริหารจัดการต้นทุนต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถสร้างกำไรและไม่ขาดทุน ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกได้ และต้องมีเอกสารทางบัญชีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรายรับ – รายจ่าย, ภาษี, ต้นทุน, ยอดขาย, กำไร – ขาดทุน, ค่าเสื่อมสินทรัพย์, การมีสินค้าคงคลัง, ค่าใช้จ่ายเสียเปล่า, ลูกหนี้การค้า – เจ้าหนี้การค้า ฯลฯ โดยส่วนใหญ่จึงต้องมีผู้เชี่ยวชาญในด้านบัญชีเข้ามาแนะนำหรือเป็นผู้ร่วมเขียนแผนธุรกิจในด้านนี้ด้วย
  8. แผนสำรองหรือแผนธุรกิจฉุกเฉิน
    แผนสำรองหรือแผนธุรกิจฉุกเฉิน จะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆที่ไม่อาจคาดคิดได้ และจะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ในทันที และลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาใหญ่ นอกเหนือการควบคุมได้ด้วย เช่น วางแผนด้านช่องทางการขายออนไลน์ แต่ยอดขายไม่เป็นตามเป้า จึงต้องเปลี่ยนมาใช้ออฟไลน์แทน, วัตถุดิบต่างประเทศไม่สามารถนำเข้าได้ ต้องเปลี่ยนมาใช้ของในไทย, สินค้าซ้ำกับแบรนด์อื่น ต้องเปลี่ยนวัตถุดิบเพื่อสร้างความแตกต่าง, มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่คาดไว้ ต้องลดบางส่วนลงเพื่อให้ได้กำไรตามเป้าหมาย, หุ้นส่วนบางคนไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เป็นต้น

ตัวอย่างแผนธุรกิจแบบดั้งเดิม จากนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

แผนธุรกิจสำหรับ Start-Up แผนธุรกิจฉบับ Lean start-up Platform

แน่นอนว่าแผนธุรกิจแบบดั้งเดิม สามารถช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้ และครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด แต่แทนที่จะวางแผนอย่างละเอียดถี่ถ้วน เราสามาถวางแผนธุรกิจให้กระชับขึ้นได้ และสามารถลดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นออกได้ ซึ่งเหมาะกับ Start-Up ที่ต้องการเริ่มต้นการทำธุรกิจของคุณได้อย่างรวดเร็ว และยังทดลองใช้ และปรับไปเรื่อยๆได้ตลอดเวลา ซึ่งองค์ประกอบประกอบไปด้วย

  1. พันธมิตรที่สำคัญ (Key partnerships)
    สังเกตธุรกิจหรือบริการอื่นๆที่ธุรกิจจะร่วมงานด้วย เช่น ซัพพลายเออร์ ผู้ผลิต หรือพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่พร้อมจะขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกัน
  2. กิจกรรมหลัก (Key activities)
    ระบุวิธีที่ธุรกิจจะสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน เน้นสิ่งต่างๆ เช่น การขายตรงไปยังผู้บริโภค การใช้เทคโนโลยี หรือแม้แต่การเลือกช่องทางการขายออนไลน์ ออฟไลน์ เพื่อสร้างประโยชน์และมุ่งเป้าหมายไปที่จุดใดจุดหนึ่ง
  3. แหล่งข้อมูลที่สำคัญ (Key resources)
    ระบุทรัพยากรที่สำคัญของคุณเพื่อสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าของคุณ และทรัพย์สินที่สำคัญ รวมไปถึงพนักงาน ทุน หรือทรัพย์สินทางปัญญา
  4. คุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า (Value proposition)
    สร้างความชัดเจน และน่าสนใจเกี่ยวกับคุณค่าเฉพาะสินค้าที่บริษัทที่นำออกสู่ตลาด จะสร้างคุณค่าต่อผู้บริโภคอย่างไร จุดเด่น จุดด้อยของผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน
  5. ความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer relationships)
    การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้า ตั้งแต่การนำเสนอสินค้าหรือบริการ ไปจนถึงการทำให้เกิดการซื้อซ้ำๆ เรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองทุก Customer Journey
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม CRM (Customer Relationship Management) คืออะไร เริ่มทำอย่างไร
  6. การแบ่งกลุ่มเป้าหมาย (Customer segments)
    กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าได้ โดยดูจากผู้ที่มีความสนใจ หรือผู้มีพฤติกรรมใกล้เคียงกับการซื้อมากที่สุด ในการแบ่งส่วนตลาดมักจะแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายกัน และกำหนดตามคุณสมบัติอย่างน้อยหนึ่งอย่างเพื่อให้ใกล้เคียงกับผู้ที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้ามากที่สุด
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) ฉบับจับมือทำ!
  7. ช่องทางการจัดจำหน่าย (Channels)
    ช่องทางในการส่งมอบสินค้าให้ถึงมือลูกค้า หรือที่เรียกว่าช่องทางจัดจำหน่าย (Place) ใน Marketing Mix 4P’s โดยจะต้องวิเคราะห์ตั้งแต่การส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้อย่างไร หรือลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าเมื่อต้องการซื้อได้ง่ายแค่ไหน เพราะการที่สามารถส่งมอบสินค้าได้รวดเร็ว หรือลูกค้าเข้าถึงได้สะดวก จะทำให้สร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
  8. โครงสร้างต้นทุน (Cost structure)
    วิเคราะห์ว่าธุรกิจมีต้นทุนจากอะไรบ้าง รวมไปถึงต้นทุนหลักของธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และสร้างกำไรได้มากกว่าเดิม
  9. กระแสรายได้ (Revenue streams)
    วิเคราะห์ช่องทางที่มาของธุรกิจ ว่ามีรายได้มาจากช่องทางได้บ้าง เช่น การขายตรง ค่าสมาชิก ตัวแทน หรือจากการโฆษณา เป็นต้น

ตัวอย่างแผนธุรกิจ Wooden Grain Toy Company

Identity
Wooden Grain Toys ผลิตของเล่นไม้เนื้อแข็งคุณภาพสูงสำหรับเด็กอายุ 3-10 ปี
Problem
พ่อแม่และปู่ย่าตายายกำลังมองหาของเล่นคุณภาพสูงและทนทานซึ่งจะสร้างความบันเทิงให้เด็กๆ และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
Our solution
ของเล่นทำมือของเราทำมาจากไม้เนื้อแข็ง และได้รับการออกแบบให้มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้เพียงพอที่จะดึงดูดเด็กๆ ได้โดยไม่จำกัดจินตนาการ
Target market
กลุ่มเป้าหมายคือผู้ใหญ่ โดยเฉพาะพ่อแม่และปู่ย่าตายายที่ต้องการมอบของเล่นให้ลูกๆ หรือหลานๆ
The competition
ของเล่นไม้เป็นส่วนหนึ่งของตลาดเฉพาะกลุ่มที่มีบริษัททุกขนาด บริษัทขนาดใหญ่ ได้แก่ Plastique Toys และ Metal Happy Toys ซึ่งจำหน่ายในต่างประเทศ บริษัทขนาดเล็กขายในท้องถิ่นในร้านค้า งานหัตถกรรม หรือทางออนไลน์
Revenue streams
Wooden Grain Toys จะขายตรงให้กับลูกค้าที่งานหัตถกรรมและทางออนไลน์
Marketing activities
Wooden Grain Toys จะสื่อสารกับลูกค้าด้วยจดหมายข่าวทางอีเมล และกลุ่มเป้าหมายบน Google และ Facebook และขายในงานหัตถกรรม
Expenses
วัสดุสำหรับของเล่น ได้แก่ ไม้ เหล็ก และยาง ค่าธรรมเนียมงานหัตถกรรมและค่าเดินทาง พื้นที่สินค้าคงคลังสำหรับผลิตภัณฑ์
Team and key roles
ปัจจุบัน สมาชิกในทีมเพียงคนเดียวคือเจ้าของ แอนดรูว์ โรเบิร์ตสัน เมื่อผลกำไรเพิ่มขึ้น Wooden Grain Toys จะเพิ่มพนักงานเพื่อช่วยเหลือด้านโซเชียลมีเดียและการตลาดออนไลน์
Milestones
เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น ของเล่นลายไม้จะโฆษณาในตลาดเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงก่อนเทศกาลวันหยุด

ที่มา sba.gov

Leave a Comment

Scroll to Top