business tips

ชวนรู้จักกับ Chat GPT ตัวช่วยสุดเจ๋ง ที่จะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น

Chat GPT คือ AI ตัวล่าสุดในรูปแบบของแชทบอทที่ได้สร้างแรงกระเพื่อมครั้งสำคัญของการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการเป็นเครื่องมืออัจฉริยะหรือเพื่อนคู่คิดที่เราจะเรียกใช้งานเมื่อไรก็ได้ ทำให้กระแสความนิยมของ Chat GPT เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ Chat GPT จะช่วยให้ชีวิตของมนุษย์ดีขึ้นจริง ๆ หรือแค่มาแย่งงานของเรากันแน่? บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักให้มากขึ้นว่า Chat GPT คืออะไร สามารถใช้งานได้อย่างไร แล้วอาชีพไหนบ้างที่ควรเริ่มปรับตัวก่อนสายเกินไป Chat GPT คืออะไร? Chat GPT คือ โมเดลปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligent) ที่ถูกสร้างขึ้นโดย OpenAI เพื่อสร้างข้อความและตอบคำถามในรูปแบบของ “แชทบอท” ซึ่งมีที่มาจากการฝึกอบรมด้วยข้อมูลจำนวนมากจากอินเทอร์เน็ตและข้อมูลอื่น ๆ เพื่อเรียนรู้ในการสร้างข้อความและบทสนทนาในลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์ คำว่า “Chat GPT” ย่อมาจาก “Chat Generative Pre-trained Transformer” ซึ่ง “Chat” หมายถึง การสนทนา “Generative” หมายถึง การสร้างข้อมูล “Pre-trained” […]

ชวนรู้จักกับ Chat GPT ตัวช่วยสุดเจ๋ง ที่จะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น Read More »

เทคนิคเขียนแผนธุรกิจสำหรับ Start-UP ให้ประสบความสำเร็จ พร้อมองค์ประกอบง่ายๆ แต่ชัดเจน!

แผนธุรกิจ หรือ Business Plan คือเครื่องมือที่สำคัญในการวางแผนธุรกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจ SMEs หรือ Start Up ซึ่งเป็นการรวบรวมแนวความคิด กระบวนการคิดและพิจารณา และการตัดสินใจที่ในการทำธุรกิจ และวิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจ เพื่อไว้เป็นคู่มือในการทำธุรกิจ เพื่อเป็นตัวช่วยในการวางโครงสร้างและตัดสินใจทำสิ่งต่างๆให้ธุรกิจเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง แผนธุรกิจจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้ และยังช่วยให้การเริ่มต้นทำธุรกิจง่ายมากยิ่งขึ้น หากคุณใช้แผนธุรกิจเป็นแผนงานสำหรับการจัดการโครงสร้าง ดำเนินการ และขยายธุรกิจใหม่ และเป็นวิธีคิดที่จะผ่านองค์ประกอบสำคัญของธุรกิจได้อีกด้วย และยังช่วยให้นักลงทุนสนใจ หรือมีพันธมิตรทางธุรกิจรายใหม่ และนักลงทุนยังสามารถมั่นใจได้อีกว่าการลงทุนนั้นคุ้มค่า และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในอนาคต องค์ประกอบของแผนธุรกิจแบบดั้งเดิม บทสรุปผู้บริหาร (Executive summary)เป็นการรวบรวมข้อมูลสำคัญว่าบริษัทของคุณคืออะไร และทำไมบริษัทถึงประสบความสำเร็จ รวมกับพันธกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับทีมงาน ผู้จัดทำ พนักงานในองค์กร หรือแม้แต่ที่ตั้งบริษัท และข้อมูลการเงินฉบับย่อ และแผนการในการทำธุรกิจในอนาคต ภาพรวมธุรกิจ (Company description)การให้คำอธิบายสั่นๆเพื่อให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับบริษัทของคุณ ลงรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่ต้องการแก้ไข และกลุ่มเป้าหมาย องค์กร และผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจ และอธิบายข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน วิเคราะห์การตลาด (Market Analysis)วิเคราะห์ตลาด แนวโน้มอุตสาหกรรม และตลาดเป้าหมายที่ต้องการ พร้อมทั้งศึกษาการแข่งขันในตลาด วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของคู่แข่ง

เทคนิคเขียนแผนธุรกิจสำหรับ Start-UP ให้ประสบความสำเร็จ พร้อมองค์ประกอบง่ายๆ แต่ชัดเจน! Read More »

การเป็นผู้ประกอบการ ควรมีมุมมองอย่างไร และทักษะที่สำคัญควรมีอะไร?

ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) คือ บุคคลซึ่งขายสินค้า หรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่ การเป็นผู้ประกอบการนั้นง่ายมาก เพราะเป็นเพียงการเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง และยังเป็นผู้ที่สร้างโอกาส สร้างผลกำไรได้อีกด้วย 9 ทักษะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ มีวิสัยทัศน์ และเป้าหมายผู้ประกอบการที่ดีมักจะกำหนดเป้าหมาย และคอยตั้งคำถามต่างๆตลอดเวลา เช่น วิสัยทัศน์สำหรับการทำธุรกิจของฉันคืออะไร? ทำไมถึงอยากเป็นผู้ประกอบการ? หากสามารถกำหนดวิสัยทัศน์ได้ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น มีความมุ่งมั่น อุตสาหะ และอดทนปัจจัยในการประสบความสำเร็จ คือ มีความมุ่งมั่น อุตสาหะ และอดทน หากเคยล้มเหลวมาแล้ว สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณสามารถลุกขึ้นได้อีกครั้ง และเป็นคนที่มีความพยายาม และสามารถหาหนทางในการแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ เพราะหากกลัวความล้มเหลวและไม่กล้าเดินหน้า ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เลย ลงมือทำ และเรียนรู้วิธีการตัดสินใจหากผู้ประกอบการมุ่งเน้นการดำเนินการ ผู้ประกอบการที่ดีไม่ใช่คนประเภทที่จะรอจนกว่าสิ่งต่างๆจะคลี่คลาย ถ้าหากคุณลงมือทำและประสบความสำเร็จ แสดงว่ากำลังมาถูกทางแล้ว และหากคุณสามารถรับผิดชอบการตัดสินใจได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน ก็จะทำให้คุณมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ และยืดหยุ่นผู้ประกอบการมักจะเป็นเหมือนนักประดิษฐ์ ที่จะคอยผลักดันการก้าวข้ามขีดจำกัดต่างๆแบบไม่มีข้อจำกัด และสามารถทำให้ความคิดริเริ่มเป็นจริงขึ้นมาได้ และยังสามารถปรับเปลี่ยนและปรับปรุงไปพร้อมๆกันได้ด้วยนอกจากนี้ การมีความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการยังช่วยจัดการกับปัญหาความตึงเครียด และปรับให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆได้เสมอ และยังช่วยสร้างข้อได้เปรียบในตลาดได้อีกด้วย ไม่กลัวที่จะท้าทาย และกล้าที่จะยอมรับความเสี่ยงหากคุณตัดสินใจที่จะทำธุรกิจของตัวเอง

การเป็นผู้ประกอบการ ควรมีมุมมองอย่างไร และทักษะที่สำคัญควรมีอะไร? Read More »

รู้หรือไม่? กลยุทธ์การผลิต OEM , ODM และ OBM คืออะไร? ช่วยธุรกิจได้อย่างไร?

กลยุทธ์การผลิต OEM , ODM และ OBM คือ การกำหนดการดำเนินการผลิตภายในองค์กร เป็นกลยุทธ์เพื่อการวางแผนผลิตสินค้า และแบรนด์ต่างๆ เช่น ครีม เครื่องสำอาง อาหารเสริม บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น แล้วแต่ละตัวมีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้ Wisdom มีคำตอบ… OEM คืออะไร? OEM หรือ Original Equipment Manufacturing คือ การผลิตสินค้าให้กับผู้ซื้อ โดยไม่มีตราสินค้า ผู้ผลิตจะรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ตามที่ผู้ซื้อกำหนด แล้วติดชื่อแบรนด์ของผู้ซื้อ หรืออาจจะไม่ติดเลยก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อ โดยใช้กระบวนการผลิตของโรงงานผู้ผลิต ตั้งแต่การคิด วางแผน ออกแบบ ใช้เครื่องจักรในการผลิต ซึ่งจะช่วยให้ผู้ซื้อประหยัดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการวางแผนจัดการโรงงานผลิต และไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงการลงทุนการผลิตอีกด้วย โรงงานผลิตแบบ OEM ส่วนใหญ่มักจะเป็นโรงงานที่เปิดใหม่ หรือโรงงานที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ แต่เน้นผลิตให้กับแบรนด์อื่นๆที่ต้องการการผลิตน้อย และไม่จำเป็นต้องมีโรงงานผลิตของตนเอง ข้อดีของ OEM ช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเจ้าของแบรนด์  เจ้าของแบรนด์ขนาดเล็กไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงในการดูแลกระบวนการผลิต มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลการผลิตและคอยให้คำปรึกษา สามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด ข้อเสียของ

รู้หรือไม่? กลยุทธ์การผลิต OEM , ODM และ OBM คืออะไร? ช่วยธุรกิจได้อย่างไร? Read More »

ไขข้อสงสัยธุรกิจ SMEs และ Start-Up คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร?

SMEs (Small and Medium Enterprises) คือ ธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงกลาง ที่ดำเนินการธุรกิจแบบเป็นรูปธรรม มักจะเป็นการให้บริการ หรือขายสินค้า ที่สามารถจับต้องได้ทั่วไป โดยมีไอเดียการสร้างสินค้าใหม่ๆ หรือการสร้างแบรนด์ที่เป็นนวัตกรรมมาส่งเสริมสินค้าและบริการเดิมที่มีอยู่ได้  Start-Up คือ ธุรกิจที่เริ่มต้นจากแนวคิด ไอเดียการทำธุรกิจ ที่เน้นการเติบโตที่รวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น มักจะเป็นธุรกิจที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คน หรือเข้ามาช่วยแก้ปัญหา หรือ Pain Point ของกลุ่มเป้าหมายได้ เรียกได้ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ SMEs และ Start-Up แตกต่างกันอย่างไร? แตกต่างที่ขนาดธุรกิจ ในขณะที่ SMEs มีขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดกลาง มีพนักงานแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับธุรกิจ แต่Start-Up จะมีขนาดเล็กมาก ถึงขั้นที่มีพนักงานในบริษัท ไม่ถึง 10 คน ไปจนถึง 100 คนแต่มีรายได้มหาศาล  รูปแบบการทำธุรกิจที่แตกต่างกัน SMEs เป็นสินค้าหรือบริการที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด ปรับปรุง พัฒนาจากเทคโนโลยีเดิมที่มี และมีกระบวนการผลิตที่รวดเร็วตอบสนองต่อความต้องการที่มีอยู่แล้วในตลาด ในขณะที่ Start-Up เป็นสิ่งใหม่ๆที่ไม่ค่อยมีในตลาด ใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา

ไขข้อสงสัยธุรกิจ SMEs และ Start-Up คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร? Read More »

ทำความรู้จัก Platform Business Model คืออะไร? เริ่มทำธุรกิจแพลตฟอร์มควรดูอะไรบ้าง?

Platform หรือ แพลตฟอร์ม เป็นรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ที่ช่วยสร้าง “มูลค่าเศรษฐกิจ” มากกว่า 2 กลุ่มธุรกิจขึ้นไป เป็นเสมือนตัวกลางระหว่างผู้บริโภค (consumer) และ ผู้ผลิต (producers) คอยอำนวยความสะดวกต่างๆ ตัวอย่างเช่น Airbnbm, PayPal, Shopee, Grab ,Facebook เป็นต้น ฟังก์ชันของธุรกิจ Platform มีรูปแบบการทำธุรกิจต่างจากเดิมที่ธุรกิจจะมีความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง เปลี่ยนผันเป็นการสร้างปฎิสัมพันธ์กับลูกค้า โดยมีธุรกิจ Platform มาเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้ซื้อ บริการเครื่องมือต่างๆที่สำคัญและปล่อยให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วม และมีบทบาท คำจัดกัดความของธุรกิจ Platform ธุรกิจรูปแบบ Platform เป็นโมเดลธุรกิจที่สร้างมูลค่าและอำนายความสะดวกในการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป ซึ่งมักจะเป็นผู้บริโภคและผู้ผลิต เช่นเดียวกับ Uber, Facebook, Alibaba ธุรกิจเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ไม่มีคลังสินค้า และควบคุมสินค้าคงคลังโดยตรงผ่านซัพพลายเชน เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนโดยลดต้นทุนการทำธุรกรรมและการใช้นวัตกรรมเพื่อลดต้นทุนการสร้างแอพลิเคชั่นส่วนตัว รวมไปถึงลดความผิดพลาดจากการสร้างแอพลิเคชั่นอีกด้วย Platform ไม่ใช่แค่การใช้เทคโนโลยี ไม่ใช่เพียงแค่ซอฟต์แวร์ แต่คือ “ผู้คน” ที่มารวมตัวกันเพื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขายผ่านทางแพลตฟอร์ม

ทำความรู้จัก Platform Business Model คืออะไร? เริ่มทำธุรกิจแพลตฟอร์มควรดูอะไรบ้าง? Read More »

เช็คลิสต์! ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้าต้องทำอะไรบ้าง (ฉบับจับมือทำ)

การจดทะเบียนการค้า หรือ การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ หลักฐานสำคัญทางการค้า ที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้า และสร้างความมั่นใจได้ว่าร้านค้านั้นมีตัวตนและมีสถานประกอบการเป็นหลักแหล่ง ทำให้ลูกค้าสามารถรับ-คืน-เปลี่ยนสินค้าได้ หรือหากสินค้าชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ภายในระยะเวลารับประกัน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้กิจการบางประเภทต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลแตกต่างกันไปตามข้อบังคับ เช่น บุคคลธรรมดาที่ประกอบกิจการค้าขายทั่วไป พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ แต่สำหรับนิติบุคคล หากได้ระบุการค้าขายไว้ในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลก็ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์แต่อย่างใด ใครบ้างที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนการค้า? กรมธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ได้แบ่งผู้ที่มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ 5 ประเภท ดังนี้ บุคคลธรรมดาคนเดียว (กิจการเจ้าของคนเดียว) ห้างหุ้นส่วนสามัญ กฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด *ข้อควรรู้ : การจดทะเบียนการค้า ผู้ประกอบการ ต้องขอจดทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิยช์ภายใน 30 วัน นับต้องแต่วันที่เริ่มประกอบธุรกิจหรือกิจการ ธุรกิจใดบ้างที่ไม่ต้องจดทะเบียนการค้า? ผู้ที่ไม่ต้องจดทะเบียนการค้ามีหลากหลาย แต่ผู้ที่ได้รับการยกเว้นการจดทะเบียนการค้าหลักๆจะมีดังนี้ การค้าเร่ การค้าแผงลอย พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1

เช็คลิสต์! ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้าต้องทำอะไรบ้าง (ฉบับจับมือทำ) Read More »

Scroll to Top