ทฤษฎีแรงจูงใจ คือ การศึกษาความต้องการของมนุษย์ และทำความเข้าใจ เพื่อผลักดันให้มนุษย์บรรลุเป้าหมาย และผลลัพธ์ได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตในสังคม โดยเฉพาะในด้านธุรกิจ และการจัดการ
ความต้องการของมนุษย์นั้นมีความแตกต่างกัน ดังนี้
What are Needs – สิ่งที่จำเป็นและต้องการโดยเฉพาะ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และความต้องการรอง ได้แก่ สังคม วัฒนธรรม เป็นต้น
What are Wants – ความต้องการที่นอกเหนือจากความต้องการที่จำเป็น เช่น ประเภทของอาหาร เป็นต้น
What are Goals – เป้าหมายในชีวิตที่ต้องการทำให้สำเร็จ
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
แรงจูงใจสำคัญอย่างไรในด้านการตลาด?
นักการตลาดจะต้องเข้าใจแรงจูงใจที่จะสามารถทำให้กลุ่มเป้าหมายเพลิดเพลินต่อการซื้อ นอกจากนี้ยังมีแรงจูงใจที่แตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ดังนี้
- Approach Conflict คือ ความขัดแย้งที่พึงยอมรับ ที่บุคคลต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ทุกตัวเลือกจะให้ผลทางบวก หรือมีแรงจูงใจเชิงบวกทั้งสิ้น เช่น การเลือกเมนูในร้านอาหาร เป็นต้น
- Approach Avoidance Conflict คือ ความขัดแย้งที่ถึงหลีกเลี่ยง ที่บุคคลต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีตัวเลือกมากกว่า 2 ขึ้นไปแต่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นแรงจูงใจเชิงลบ
ในฐานะนักการตลาดเราต่างเข้าใจตรงกันว่า แรงจูงใจของผู้บริโภคเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทั้งทางกายภาพและจิตวิทยา นั่นเพราะแรงจูงใจเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการตัดสินใจซื้อ นักการตลาดจำเป็นต้องเข้าใจกระบวนการตัดสินใจและการซื้อเพื่อที่จะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอสินค้าและนวัตกรรม และสร้างการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ จากแรงจูงใจสู่การซื้อ
- ผู้บริโภคจะเริ่มต้นจากตระหนักถึงความต้องการที่แฝงอยู่ เช่น รู้สึกหิว
- เมื่อทราบว่า “หิว” ซึ่งเป็นความจำเป็นของร่างกาย ทำให้เกิดความตึงเครียด และรู้สึกไม่สบายตัว ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เติมเต็มความต้องการ และเปลี่ยนแปลงไปยังแรงจูงใจในการทานอาหาร
- เมื่อเกิดเป็นแรงจูงใจแล้ว ก็จะมีเป้าหมายเฉพาะ เช่น อยากกินพิซซ่า อยากกินสลัด เป็นต้น
- เมื่อตอบสนองความต้องการได้แแล้ว จะลดความตึงเครียดลงได้ และประสบความสำเร็จในการตอบสนองความต้องการนนั่นเอง
แล้วสิ่งเรานี้เกี่ยวข้องกับการตลาดอย่างไร สามารถอธิบายได้ตามทฤษฎีแรงจูงใจของ MASLOW และ McGuire ดังนี้
ทฤษฏีแรงจูงใจของ MASLOW
ดร. อับราฮัม มาสโลว์ นักจิตวิทยา ได้กำหนดทฤษฏีแรงจูงใจของมนุษย์ตามลำดับขั้นความต้องการในสังคม ไว้ 5 ระดับ ตั้งแต่ความต้องการตั้งแต่ระดับต่ำไปถึงสูง (Hierarchy& Needs) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับในสังคม
- Physiological Needs: ความต้องการที่ร่างกายต้องการ – อาหาร เครื่องนุ่งห่ม อากาศ และที่อยู่อาศัย เป็นความต้องการที่จำเป็น และเป็นความต้องการอันดับต้นๆ
- Safety or Security Needs: ความต้องการด้านความปลอดภัย – การรักษาความปลอดภัย ความมั่นคง และความเป็นส่วนตัว จะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการหลังจากอันดับแรกสำเร็จแล้ว
- Social Needs: ความต้องการในสังคม – การมีความสัมพันธ์ และได้รับการยอมรับ ได้รับความรักในหมูคณะ
- Esteem Needs: ความต้องการด้านการยกย่อง – ได้แก่ ความยกย่องส่วนตัว (Self-esteem) ความนับถือ (Recognition) และสถานะ (Status) และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ เช่น ความสำเร็จ ความรู้ ศักดิ์ศรี ความสามาระ และสถานะที่ดีทางสังคม
- Self-Actualization: ความต้องการด้านการประสบความสำเร็จขั้นสูงสุดในชีวิต – เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล ซึ่งหากบรรลุความต้องการนี้ได้จะได้รับการยอมรรับว่าเป็นบุคคลที่พิเศษ
ทฤษฏีแรงจูงใจของ MCGuire
ทฤษฎีแรงจูงใจของ MCGuire จะแตกต่างจากของ Maslow ตรงที่ได้พัฒนาวิธีการจำแนกให้มีลักษณะชีเฉพาะมากกว่า ดังนี้
- Need for consistency: ความต้องการความสอดคล้องกัน
ได้แก่ ทัศนคติ พฤติกรรม ความคิดเห็น ภาพลักษณ์ และความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน และไม่เกิดความขัดแย้ง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ Marketing Mix ได้ เช่น ภาพลักษณ์หรูหรา จะต้องมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม มีมูลค่า มีราคาแพง มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสม เช่น ในห้างสรรพสินค้า ร้านค้าแบรนด์เนม เป็นต้น - Need to attribute causation: ความต้องการทราบเหตุผลที่เป็นที่มาของสิ่งต่าง
หรือ Brand Story นั่นเอง เพราะที่มาเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ทราบผลที่จะเกิดขึ้นใในทางที่ดีหรือไม่ดี หรือหมายถึงการทำให้คล้อยตามด้วยที่มา และการให้คำแนะนำ หากเป็นที่มาจากเพื่อน คนสนิท คนในครอบครัวก็จะทำให้น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น - Need to categorize: ความต้องการที่จะสามารถจำแนกสิ่งต่างๆ ได้
เป็นความต้องการที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์และสามารถเก็บไว้เป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจ เช่น ราคา คุณภาพ เป็นต้น หลายๆบริษัทมักจะใช้กลยุทธ์ราคา เพื่อใช่ในการจำแนก เช่น 99 บาท 199 บาท และ 499 บาท เป็นต้น เหตุผลสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการจัดเข้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ราคา 100 บาท 200 บาท และ 500 บาท - Need for cues: ความต้องการที่จะสามารถบอกความหมายโดยนัยได้
ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่ใช้จากสังเกต ด้วยสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆ เช่น ความประทับใจ (impressions) ความรู้สึกต่างๆ (feelings) และทัศนคติ (attitudes) ตัวอย่างเช่น สัญลักษณ์ฮาลาล สัญลักษณ์ออแกนิค หรือ Cruelty free เป็นต้น - Need for independence: ความต้องการด้านอิสระภาพ
สามารถใช้ตอบสนองแรงจูงใจด้วยการโฆษณาเพื่อให้เห็นถึงอิสระภาพที่ทุกคนต้องการเป็นต้น เช่น รองเท้า Nike free run+ Freedom for yourself - Need for novely: ความต้องการสิ่งแปลกใหม่
คนเรามักไม่ชอบความจำเจ ซ้ำซาก ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็น “พฤติกรรมเพื่อแสวงหาความหลากหลาย” (variety-seeking behavior) และมักจะเปลี่ยนแบรนด์ไปเรื่อยๆ (brand switching) หรือพฤติกรรมการซื้ออย่างที่เรียกกันว่า “การซื้ออันเกิดจากแรงดลใจฉับพลัน” (impulse purchasing) มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (travel industry) ที่ผู้คนมักจะต้องการแสวงหาสถานที่ใหม่ๆเสมอ - Need for self-expression: ความต้องการแสดงตนเองให้ประจักษ์
ผู้คนต้องการแสดงความเป็นตัวเอง และต้องการสะท้อนตัวตนของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า รถยนต หรือของใช้อื่นๆ ก็มักจะแสดงตัวตนของตัวเองออกมา เช่น Mercedes-Benz Dream Factory เป็นต้น - Need for ego-defense: ความต้องการเพื่อป้องกันตัวเอง
การปกป้องตัวเองเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่ง ที่เมื่อไหร่ที่ผู้คนรู้สึกถูกคุกคาม หรือภาพลักษณ์ของตนเอง (self-image หรือ self-concept) กำลังเสียหาย ก็จะยืนหยัดเพื่อปกป้องทันที ดังนั้น แบรนด์จึงต้องรักษาภาพลักษณ์ให้ลูกค้ายังรู้สึกถึงคุณค่าของแบรนด์อยู่เสมอ - Need for reinforcement: ความต้องการได้รับการเสริมแรง
แรงกระตุ้นที่จะช่วยให้รู้สึกพึงพอใจเป็นรางวัล (Reward) เช่น การสวมเสื้อผ้า เครื่องประดับ หรือแม้แต่คอนแทคเลนส์ เป็นต้น
- Need for affiliation: ความต้องการความรักความผูกพัน
ความต้องการที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และรู้สึกผูกพัน ดังนั้น การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคจะเลือกจากแบรนด์ที่มี Brand Loyalty มาก่อน หรือแม้แต่การโฆษณา การใช้คำจูงใจให้ผูกพันก็ควรนำมาเป็นแนวคิดหลักของแบรนด์เหมือนกัน เช่น ผู้บริโภคจะผูกพันและคุ้นเคยกับ “Every Car Deserve to shine” เป็นต้น - Need for modeling: ความต้องการยึดถือบุคคลอื่นที่ชื่นชอบเป็นตัวแบบ
ผู้คนจะชื่นชอบบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจ หรือคนดังต่างๆ และต้องการจะเรียนแบบดังนั้น พรีเซนเตอร์ นางแบบ นายแบบจึงสำคัญกับแบรนด์เหมือนกัน เช่น กลุ่มนักกีฬา กลุ่มนักดนตรี และดาราภาพยนตร์ เป็นต้น
ที่มา forbes.com