หลายๆธุรกิจที่ไม่กำหนด กลุ่มเป้าหมาย (Tarket Market) หรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่กว้างเกินไป มักจะเสียโอกาสและใช้เงินลงทุนโดยไม่จำเป็น เพราะเมื่อพิจารณาถึงสถานีของเศรษฐกิจในปัจจุบัน การมีกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดที่กำหนดไว้มีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา ไม่มีใครสามารถกำหนดเป้าหมายเป็นทุกๆคนในตลาดได้
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ก็ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในตลาดเท่านั้น เพราะการกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดนอกจากจะยกเว้นผู้ที่ไม่เหมาะสมกับเกณฑ์ที่ธุรกิจกำหนดไว้แล้ว ยังเป็นการกำหนดเพื่อมุ่งเน้นมูลค่าของตลาด สินค้าและบริการในตลาด การสื่อสาร และกลยทธ์ทางการตลาด ที่จะสร้างโอกาสในการเข้าถึงผู้ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าในอนาคต
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด คืออะไร?
กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Target Market) คือ กลุ่มผู้มีโอกาสจะเป็นลูกค้า ซึ่งเราต้องการขายสินค้าหรือบริการไปยังคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ การระบุว่าใครคือลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ โดยปกติแล้วจะกำหนดได้ด้วยข้อมูลประชากร เช่น อายุ, เพศ, ที่อยู่, ระดับรายได้, และไลฟ์สไตล์
วิธีการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง คือ การใช้กลยุทธ์ STP – Segment, Target, Position
เริ่มต้นจากการแบ่ง Segment การแบ่งตลาดออกเป็นกลุ่มผู้ซื้อที่มีลักษณะเฉพาะ วิธีที่พบบ่อยที่สุด คือ การแบ่งข้อมูลตามประชากรศาสตร์, จิตวิทยา, ภูมิศาสตร์, และพฤติกรรม จากนั้นนำไปวิเคราะห์ Target นำข้อมูลจาก Segment มาวิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายไหนคือกลุ่มที่ดี่สุดในปัจจุบัน และสามารถสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการของเราได้ สุดท้ายPositioning คือ วิธีการที่เราเลือกวางตำแหน่งสินค้าและบริการของเรา โดยจำกัดขอบเขตให้แคบลง ระบุด้วยข้อดีข้อเสียของแต่ละกลุ่ม และนำมาวางแผนการตลาด และออกแบบวิธีที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทำได้อย่างไร และที่ไหน
เงื่อนไขที่ต้องใช้ในการเลือกกลุ่มเป้าหมาย
1. ฐานลูกค้าปัจจุบัน
การเริ่มต้นขายสินค้า มักจะมีฐานลูกค้าอยู่แล้ว จึงควรที่จะศึกษาหาข้อมูลโดยเริ่มจาก ฐานลูกค้าปัจจุบัน ว่าเพราะอไรลูกค้ากลุ่มนี้ถึงสนใจ และสาเหตุที่ผลิตภัณฑ์ของคุณสามารถเข้าถึงกลุ่มนี้ได้ และกลุ่มเป้าหมายในลักษณะใดที่สามารสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจวิธีการตอบสนองลูกค้าปัจจุบัน และนำไปขยายฐานลูกค้าได้ในอนาคต
2. การแบ่งส่วนตลาด
การดูเปอร์เซ็นต์ยอดขายทั้งหมดในอุตสาหกรรม ซึ่งคำนวนจากยอดขายของธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถดูการแข่งขันในตลาดได้ เพราะมีข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงอย่างประเทศ, คู่แข่งขัน, รายได้ ทำให้สามารถนำข้อมูลไปใช้คาดการณ์ความรุนแรงในการแข่งขัน อำนาจในการซื้อของผู้บริโภค และอำนาจในการขายของผู้ประกอบการ ซึ่งจะสามารถคาดการณ์ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายในตลาดนี้เหมาะสมกับสินค้าของเราหรือไม่ และเราสามารถทำธุรกิจในอุตสากรรมนี้โดยใช้กลุ่มเป้าหมายเดียวกันได้หรือไม่
3. ขนาดกลุ่มเป้าหมาย
จำนวนผู้ทีมีแนวโน้มซื้อสินค้าและบริการที่มีศักยภาพในตลาด โดยการคำนวนต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ประเมินความสนใจโดยดูจากยอดขายและการแบ่งส่วนตลาดมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล จะทำให้ประมาณขนาดของกลุ่มเป้าหมายได้ อาจจะใช้การวิจัยทางการตลาดเข้ามาช่วยในการประเมิน ก็จะทำให้คาดการณ์แนวโน้มของปริมาณผู้ที่จะซื้อสินค้าและบริการที่คล้ายคลึงกันภายใน 1-2 ปีนั้นอย่างไรบ้าง ทำให้สามารถประเมินยอดขายและผลกำไรของสินค้าและบริการได้ ซึ่งเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจลงทุน และการวางแผนทางการตลาดได้
4. จุดแข็งของสินค้าหรือบริการ
การมองหากลุ่มเป้าหมาย ต้องทบทวนสินค้าหรือบริการของธุรกิจ เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการดึงดูดลูกค้าใหม่ หรือดูว่าสินค้าหรือบริการที่มีตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้หรือไม่ ซึ่งจะทำให้รับรู้ได้ว่าสินค้าหรือบริการของเราคืออะไร กลุ่มเป้าหมายคาดหวังจะได้รับอะไร รวมไปถึงความพึงพอใจต่อสินค้าหรือบริการ และทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ว่าจะทำการตลาดกับผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าได้อย่างไร
5. การประเมินการตัดสินใจ
เมื่อได้กำหนดหรือตัดสินใจเลือกกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใดกลุ่มหนุ่งไปแล้ว ควรพิจาณาถึงผลที่จะตามมาด้วยทุกครั้ง ด้วยการพิจารณาจากคำถามเหล่านี้
- คนที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการของเรามีเพียงพอหรือไม่?
- กลุ่มเป้าหมายจะได้รับประโยชน์จากสินค้าและบริการของเราจริงหรือไม่? หรือมีความจำเป็นมากเพียงพอหรือไม่?
- แรงจูงใจ หรือแรงผลักดันจากกลยุทธ์ทางการตลาด หรือสินค้าและบริการมีเพียงพอให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อหรือไม่?
- กลุ่มเป้าหมายมีศักยภาพเพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการได้จริงหรือไม่?
- วิธีการที่จะเข้าถึง และสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเป็นไปได้หรือไม่?
เมื่อรู้แล้วว่ากลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของเราเป็นใคร จะทำให้เราเข้าใจได้ง่ายมากว่า ทิศทางของธุรกิจจะเป็นไปในทางใด จะสามารถสื่อสารเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร ทำให้สามารถกำหนดได้เฉพาะเจาะจง ช่วยประหยัดต้นทุน เพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย