จิตวิทยาของสี (Color Psychology) ส่งผลต่อความรู้สึกอย่างไรบ้าง?

จิตวิทยาของสี (Color Psychology) มีผลต่อการรับรู้ทางจิตใจของมนุษย์ สีกับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการตลาด ซึ่งหากเลือกสีที่เหมาะสมนั้นจะช่วยให้การสื่อสารทางการตลาดของเรานั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น “ชอบสีอะไร” เป็นคำถามยอดนิยมที่เรามักเลือกใช้เมื่อต้องถามสิ่งที่ชอบจากใครสักคน หรือแม้แต่ตัวเราเอกก็ถูกถามเช่นนี้อยู่บ่อยๆ และแน่นอนค่ะเราทุกคนต่างมีสีที่โปรดปรานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และรู้ไหมว่าอะไรดลจิตดลใจให้เรามักเลือกซื้อ หรือเลือกใช้สีนั้นตลอด บทความจะทำให้คุณรู้ว่า “สี” ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกมากกว่าที่เราคิด เพราะมีวิจัยทางวิทยาศาสตร์มานานแล้วว่า “จิตวิทยาสีกับความรู้สึกนั้นมีความสัมพันธ์กัน” ทำให้ศาสตร์สมัยใหม่ๆ หลายด้านเลือกนำจิตวิทยาสีมาใช้ในการออกแบบสินค้า ผลิตภัณฑ์ อาคารสถานที่ สื่อ ไปจนถึงใช้เพื่อการบำบัดร่างกายและจิตใจ ในปี 1966 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษอย่างเซอร์ไอแซค นิวตันค้นพบว่า เมื่อแสงสีขาวบริสุทธิ์ส่องผ่านปริซึมจะทำให้เกิดแสงสีอื่นๆ ที่มองเห็นได้ตามมา แถมนิวตันยังพบอีกด้วยว่าแสงแต่ละชนิดก็มีคลื่นแสงที่แตกต่างกันออกไปไม่ปะปนกัน การทดลองเพิ่มเติมยังแสดงให้เห็นว่าแสงสามารถรวมกันเป็นสีอื่นได้ เช่น แสงสีแดงผสมกับแสงสีเหลืองทำให้เกิดสีส้ม และบางสี เช่นสีเขียวและสีม่วงแดงจะเป็นสีที่ตัดกัน เป็นต้น ต่อมา นักวิจัย Andrew Elliot และ Markus Maier ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “เมื่อพิจารณาจากการมองเห็นสี จิตวิทยาสีกับความรู้สึกอาจมีความสัมพันธ์กัน” แต่กลับเป็นเรื่องแปลกที่ไม่ค่อยมีงานวิจัยด้านจิตวิทยาสีออกมามากนัก อาจเป็นเพราะในอดีตวงการวิทยาศาสตร์อาจยังไม่ให้การยอมรับศาสตร์ด้านจิตวิทยาอย่างแพร่หลาย แต่ไม่ว่าอย่างไรเรื่องของสีและความรู้สึกเชิงจิตวิทยาก็ยังได้รับความสนใจมาตลอด จนกระทั่งปัจจุบันมีการนำสีไปใช้ในการออกแบบและใช้งานในชีวิตประจำวันหลากหลายด้าน โดยเลือกใช้สีที่สัมพันธ์กับความรู้สึกและพฤติกรรมของมนุษย์ จนกลายมาเป็นแนวคิดเรื่องสีและจิตวิทยาของสีที่เราคุ้นเคยกันดีในปัจจุบัน สีมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก อย่างไร?  แม้ว่าการรับรู้สีจะค่อนข้างเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ผลกระทบบางอย่างก็มีความหมายที่เป็นสากล เฉดสีต่างๆสามารถส่งผลกระทบได้หลากหลายตั้งแต่การกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึก ของเราไปจนถึงการทำให้วิตกกังวล  ตัวอย่างสีที่ส่งผลต่อความรู้สึก […]

จิตวิทยาของสี (Color Psychology) ส่งผลต่อความรู้สึกอย่างไรบ้าง? Read More »