กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด

what-is-google-trend-how-to-use

Google Trend คืออะไร นำมาใช้กับธุรกิจได้อย่างไร พร้อมสอนวิธีใช้ง่ายๆ

Google Trend คือ เครื่องมือที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความนิยมและแนวโน้มของคำค้นหาใน Google ในระยะเวลาและพื้นที่ต่าง ๆ ในโลก ซึ่ง Google Trend ทำให้นักการตลาดและนักวิเคราะห์สามารถใช้ข้อมูลนี้ในการวางแผนและตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น การตลาด การวางแผนคอนเทนต์ รวมไปถึงผู้ประกอบการที่อยากเริ่มต้นธุรกิจแต่ไม่รู้ว่าควรขายอะไรดีนะ? สินค้าที่กำลังนิยมมีอะไรบ้าง บทความนี้จึงอยากมาช่วยแนะนำวิธีการใช้งาน Google Trends ให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้ทุกคนได้รู้กัน Google Trend คืออะไร Google Trends เป็นเครื่องมือฟรีจาก Google ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสำรวจความนิยมของคำค้นหาในช่วงเวลาที่กำหนด โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปริมาณการค้นหาและความสนใจสำหรับหัวข้อ คำสำคัญ และคำค้นหาต่าง ๆ ในภูมิภาคและภาษาต่าง ๆ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเราสามารถระบุหัวข้อที่กำลังมาแรง เข้าใจรูปแบบการค้นหา เปรียบเทียบความนิยมของข้อความค้นหาต่าง ๆ และรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้รวมถึงการหาสินค้าที่น่าสนใจได้อีกด้วย ข้อดีของ Google Trend กับการทำธุรกิจ ดังที่กล่าวไปแล้วว่า Google Trend Search ทำให้เรารู้ได้ว่าตอนนี้หรืออดีตที่ผ่านมามีคำค้นหาใดกำลังเป็นที่นิยมจากผู้ใช้งาน Google บ้าง รวมไปถึงสามารถเช็คเปรียบเทียบได้ด้วยว่า […]

Google Trend คืออะไร นำมาใช้กับธุรกิจได้อย่างไร พร้อมสอนวิธีใช้ง่ายๆ Read More »

business model canvas

Business Model Canvas คืออะไร ใช้อย่างไรให้ได้ผล (พร้อมตัวอย่าง)

Business Model Canvas คือ ส่วนประกอบภาพรวมของธุรกิจที่สามารถแสดงส่วนสำคัญหลักๆอยู่สองส่วนด้วยกันคือ ธุรกิจเกิดรายได้ได้อย่างไร และ ผู้ซื้อหรือลูกค้าที่ใช้บริการของเราได้รับคุณค่าอะไรจากเรา ทั้งสองส่วนนี้จะมีส่วนประกอบด้วยกันทั้งหมด 9 ส่วน และจัดกลุ่มได้ 4 กลุ่มดังนี้ ส่วนประกอบทั้ง 9 ส่วนประกอบด้วย HOW (สีฟ้า) ประกอบด้วย Key Partner (พันธมิตรหลัก): คู่ค้าหรือพันธมิตรหลักที่มีส่วนช่วยในการดำเนินธุรกิจ Key Activities (กิจกรรมหลัก): กิจกรรมต่างๆที่มีส่วนช่วยในการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ Key Resources (ทรัพยากรหลัก): สิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น พนักงาน ระบบหลังบ้าน ระบบบัญชี เป็นต้น WHAT (สีส้ม) ประกอบด้วย Value proposition (การเสนอคุณค่า): คุณค่าที่ธุรกิจได้ส่งมอบให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุด WHO (สีเหลือง) ประกอบด้วย Customer Relationship (ความสัมพันธ์กับลูกค้า): การสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าหรือการช่วยเหลือ สร้างความสัมพันธ์เพื่อเก็บข้อมูล และรักษาฐานลูกค้า นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจ

Business Model Canvas คืออะไร ใช้อย่างไรให้ได้ผล (พร้อมตัวอย่าง) Read More »

ขั้นตอน การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) ฉบับจับมือทำ!

การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าได้ โดยดูจากผู้ที่มีความสนใจ หรือผู้มีพฤติกรรมใกล้เคียงกับการซื้อมากที่สุด ในการแบ่งส่วนตลาดมักจะแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายกัน และกำหนดตามคุณสมบัติอย่างน้อยหนึ่งอย่างเพื่อให้ใกล้เคียงกับผู้ที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้ามากที่สุด  และช่วยให้กำหนด ทำความเข้าใจ ถึงลูกค้าในอุดมคติของแบรนด์มากขึ้น และสามารถระบุตลาดที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการได้  ประเภทของการแบ่งส่วนตลาด การแบ่งส่วนตลาดและการกำหนดกลุ่มเป้าหมายต้องทำความเข้าใจว่า สินค้าและบริการตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะระบุได้จากการทำวิจัยหรือข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้รับ การแบ่งส่วนทางภูมิศาสตร์ (Geographic Segmentation) แม้ว่าโดยทั่วไปเป็นกลุ่มประชากรที่ง่ายที่สุด เพราะสามารถสร้างกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันตามขอบเขตภูมิศาสตร์ เนื่องจากผู้ที่มีแนวโน้มเป็นลูกค้า จะมีความต้องการ ความชอบ และความสนใจ ที่แตกต่างกันออกไปตามภูมิศาสตร์ ทั้งสภาพอากาศ ท้องถิ่น และทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งการทำกลยุทธ์และแคมเปญการตลาดต่างๆเพื่อต่อยอดธุรกิจได้ การแบ่งส่วนทางประชากร (Demographic Segmentation) ใช้การจัดเรียงตามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ ขนาดครอบครัว เชื้อชาติ สัญชาติ และอื่นๆ การแบ่งส่วนตลาดรูปแบบนี้จะทำให้เข้าถึงวิธีการซื้อ จำนวนการซื้อ และจำนวนเงินที่ยินดีจะจ่ายต่อสินค้าและผลิตภัณฑ์ การแบ่งส่วนทางองค์กร (Firmographic Segmentation) มีลักษณะคล้ายกับการแบ่งส่วนทางประชากร แต่แตกต่างตรงที่การแบ่งส่วนประชากรจะวิเคราะห์จากข้อมูลบุคคล แต่การแบ่งส่วนทางองค์กรจะวิเคราะห์ข้อมูลขององค์กร เช่น ขนาดองค์กร จำนวนพนักงาน

ขั้นตอน การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) ฉบับจับมือทำ! Read More »

5 เทคนิค เลือกกลุ่มเป้าหมาย ทางการตลาด (Target Market) ให้ขายได้

หลายๆธุรกิจที่ไม่กำหนด กลุ่มเป้าหมาย (Tarket Market) หรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่กว้างเกินไป มักจะเสียโอกาสและใช้เงินลงทุนโดยไม่จำเป็น เพราะเมื่อพิจารณาถึงสถานีของเศรษฐกิจในปัจจุบัน การมีกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดที่กำหนดไว้มีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา ไม่มีใครสามารถกำหนดเป้าหมายเป็นทุกๆคนในตลาดได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ก็ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในตลาดเท่านั้น เพราะการกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดนอกจากจะยกเว้นผู้ที่ไม่เหมาะสมกับเกณฑ์ที่ธุรกิจกำหนดไว้แล้ว ยังเป็นการกำหนดเพื่อมุ่งเน้นมูลค่าของตลาด สินค้าและบริการในตลาด การสื่อสาร และกลยทธ์ทางการตลาด ที่จะสร้างโอกาสในการเข้าถึงผู้ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าในอนาคต กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด คืออะไร? กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Target Market) คือ กลุ่มผู้มีโอกาสจะเป็นลูกค้า ซึ่งเราต้องการขายสินค้าหรือบริการไปยังคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ การระบุว่าใครคือลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ โดยปกติแล้วจะกำหนดได้ด้วยข้อมูลประชากร เช่น อายุ, เพศ, ที่อยู่, ระดับรายได้, และไลฟ์สไตล์ วิธีการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย             วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง คือ การใช้กลยุทธ์ STP – Segment, Target, Position เริ่มต้นจากการแบ่ง Segment การแบ่งตลาดออกเป็นกลุ่มผู้ซื้อที่มีลักษณะเฉพาะ วิธีที่พบบ่อยที่สุด คือ การแบ่งข้อมูลตามประชากรศาสตร์, จิตวิทยา, ภูมิศาสตร์, และพฤติกรรม จากนั้นนำไปวิเคราะห์ Target

5 เทคนิค เลือกกลุ่มเป้าหมาย ทางการตลาด (Target Market) ให้ขายได้ Read More »

เจาะลึก Customer Personas คืออะไร ทำอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร?

ปัจจุบัน การทำ Customer Persona ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อมีการแข่งขันสูงมากขึ้น การทำความเข้าใจผู้บริโภค และการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน โดยเฉพาะลักษณะของบุคคลที่จะซื้อสินค้าและบริการ ทั้งพฤติกรรม อายุ ความคิด หรือการตัดสินใจ ถือได้ว่าเป็นการสร้างโอกาสและเป็นส่วนช่วยในการประกอบความสำเร็จให้กับธุรกิจ “Customer Persona” หรือเรียกอีกอย่างว่า “Buyer Persona” คือ การใช้ข้อมูลการวิจัยทางการตลาดและการเก็บข้อมูลพฤติกรรม เพื่อนำมากำหนดบุคลิก และนำมาวิเคราะห์และอธิบายลักษณะลูกค้าเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ ด้วยการทำความเข้าใจลูกค้าด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative) เพื่อเป็นตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย หรือลูกค้าในอุดมคติ ทำให้เราเห็นภาพ เห็นชีวิต การตัดสินใจของลูกค้า และพฤติกรรมต่างๆ ทำให้สามารถมองเห็นภาพ และความคาดหวังเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีความลึกซึ้งกว่าการอธิบายลักษณะของลูกค้าเป้าหมายแบบ Segment ที่ทำการแบ่งกลุ่มแบบภาพรวมด้วยข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น สิ่งที่ทำให้ Customer Persona แตกต่างจากการเก็บข้อมูลแบบทั่วไป เพราะเน้นการทดลองว่า Persona ที่ร่างขึ้นมานั้นมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ และแบรนด์ของเราตอบสนองต่อความต้องการจริงหรือไม่ ช่องทางที่มีอยู่เหมาะสมหรือไม่ ทำให้สามารถพัฒนากลยุทธ์ได้ต่อไป ซึ่งการทำ Customer Persona ถือเป็นพื้นฐานการทำ Digital Marketing และ Content Marketing

เจาะลึก Customer Personas คืออะไร ทำอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร? Read More »

Scroll to Top