SMEs (Small and Medium Enterprises) คือ ธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงกลาง ที่ดำเนินการธุรกิจแบบเป็นรูปธรรม มักจะเป็นการให้บริการ หรือขายสินค้า ที่สามารถจับต้องได้ทั่วไป โดยมีไอเดียการสร้างสินค้าใหม่ๆ หรือการสร้างแบรนด์ที่เป็นนวัตกรรมมาส่งเสริมสินค้าและบริการเดิมที่มีอยู่ได้
Start-Up คือ ธุรกิจที่เริ่มต้นจากแนวคิด ไอเดียการทำธุรกิจ ที่เน้นการเติบโตที่รวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น มักจะเป็นธุรกิจที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คน หรือเข้ามาช่วยแก้ปัญหา หรือ Pain Point ของกลุ่มเป้าหมายได้ เรียกได้ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
SMEs และ Start-Up แตกต่างกันอย่างไร?
แตกต่างที่ขนาดธุรกิจ
ในขณะที่ SMEs มีขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดกลาง มีพนักงานแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับธุรกิจ แต่Start-Up จะมีขนาดเล็กมาก ถึงขั้นที่มีพนักงานในบริษัท ไม่ถึง 10 คน ไปจนถึง 100 คนแต่มีรายได้มหาศาล
รูปแบบการทำธุรกิจที่แตกต่างกัน
SMEs เป็นสินค้าหรือบริการที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด ปรับปรุง พัฒนาจากเทคโนโลยีเดิมที่มี และมีกระบวนการผลิตที่รวดเร็วตอบสนองต่อความต้องการที่มีอยู่แล้วในตลาด
ในขณะที่ Start-Up เป็นสิ่งใหม่ๆที่ไม่ค่อยมีในตลาด ใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา และปรับเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมผู้บริโภค
ที่มาของเงินทุนแตกต่างกัน
SMEs มักจะเป็นการลงทุนธุรกิจที่มาจากเจ้าของกิจการ หรือการกู้ยืมจากธนาคาร แต่ Start-Up มักจะมาจากการลงทุนของนักลงทุน หรือผู้ที่สนใจในรูปแบบธุรกิจนั้นๆ เพื่อให้ผลประโยชน์ในอนาคต
รูปแบบของทรัพย์สินที่แตกต่างกัน
SMEs เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้ แต่ Start-Up เป็นทรัพย์สินทางปัญญา
การเติบโตของธุรกิจที่แตกต่างกัน
SMEs มักจะมีรูปแบบคงที่ และมีต้นทุนคงที่จากการผลิตการดำเนินงาน และมีการผันแปรของต้นทุนต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้มีการเติบโตช้า และยากในการเข้าถึงของผู้บริโภค
แตกต่างกัน Start-Up สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ เพราะเป็นนวัตกรรมที่จะอยู่ที่ไหนก็สามารถใช้ได้ และแก้ปัญหาต่อการใช้ชีวิตของคนในวงกว้าง
ตัวอย่างธุรกิจ SMEs และ Start-Up
SMEs และ Start-Up แบบไหนดีกว่ากัน?
ข้อดี ของธุรกิจ SMEs
- ได้รับการสนุบสนุนจากนโยบายของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งเงินกู้ สิทธิประโยชน์ทางภาษี และความรู้ในการประกอบธุรกิจจากกรมพัฒนาธุรกิจด้านการค้า (DBD) สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เป็นต้น
- ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชนชั้นนำ เพื่อประโยชน์ด้านสังคม และเป็นการสร้างคอมมูนิตี้
- สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์กรได้อย่างรวดเร็ว
- มีการสื่อสารภายในองค์กรรวดเร็ว
ข้อดี ของธุรกิจ Start-Up
- ได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบายจากรัฐบาล ได้แก่ สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากร การสนับสนุนกิจการหรืออุตสาหกรรมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และดิจิทัล เป็นต้น
- การสนับสนุนสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม เช่น การวางมาตรฐานและกฎเกณฑ์ที่จำเป็น ความปลอดภัยจากการคุกคามโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และ Startup Thailand
- การสนับสนุนสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมจากภาคเอกชน เช่น True Digital Park, 500TukTuks, KBTG, InVent by Intouch เป็นต้น
- ไม่ต้องเสี่ยงลงทุนด้วยตนเอง เพราะมักจะมีนักลงทุนคอยให้การสนับสนุนอยู่เสมอ
- เติบโตไว เพราะมีการสนับสนุนจาก Start-Up เช่น WONGNAI X LINEMAN
ข้อเสีย ของธุรกิจ SMEs
- SMEs ถูกต่อยอดจากธุรกิจครอบครัวเป็นส่วนใหญ่และมีการจัดการระบบแบบเก่า จึงค่อนข้างปรับเปลี่ยนยาก
- มีต้นทุนการบริหารงานจำนวนมาก และต้องใช้กำลังมากในการสร้างกลุ่มเป้าหมาย
ข้อเสีย ของธุรกิจ Start-Up
- การลงทุนมีความเสี่ยง จึงต้องมีการทำการตลาดค่อนข้างมาก เพื่อเพิ่มการสร้างการรับรู้ และจำนวนผู้ใช้งาน
- ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไว และนวัตกรรมบางอย่างอาจไม่ตอบโจทย์
- ไม่มีทรัพย์สินถาวร หากไม่ประสบความสำเร็จก็ไม่สามารถนำทรัพย์สินอื่น ๆ ไปขายทอดตลาดได้เหมือนกับ SMEs เรียกได้ว่าไม่มีมูลค่าทางธุรกิจนั่นเอง
ถึงแม้ SMEs และ Start-Up จะมีความแตกต่างกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นก็คือ “การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า” และต้องรับมือให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมผู้บริโภค เพราะหากไม่มีการปรับตัว ก็อาจทำให้ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน
ที่มา https://shortrecap.co/