กองทุนรวม (Mutual Fund) คือ การลงทุนรูปแบบหนึ่งที่อาศัยการรวบรวมเงินจากนักลงทุนหลาย ๆ คนมารวมกัน จากนั้น “ผู้จัดการกองทุน” ซึ่งความเชี่ยวชาญและความรู้ด้านการลงทุนจะนำเงินไปลงทุนในตลาดสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ อาทิ หุ้น, ตราสารหนี้, อสังหาริมทรัพย์ และอื่น ๆ จากนั้นเมื่อได้ผลตอบแทนจากการลงทุนก็จะมาปันผลตามอัตราการลงทุนให้กับนักลงทุนแต่ละคนนั่นเอง
ในบทความนี้ The Wisdom Academy จะมาแนะนำกองทุนรวมที่น่าสนใจแห่งปี 2023 ให้ทุกท่านได้นำไปตัดสินใจ จะมีกองทุนไหนน่าจับตามอง ห้ามพลาด!
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
กองทุนรวม Active Fund กับ Passive Fund ต่างกันอย่างไร?
กองทุนรวมแบบ Active Fund และ Passive Fund แตกต่างกันหลัก ๆ 2 ด้านด้วยกัน นั่นคือ
- เป้าหมายในการลงทุน: กองทุนรวมแบบ Passive Fund มีเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง (Benchmark) ในขณะที่กองทุนรวมแบบ Active Fund มีเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีอ้างอิง
ดัชนีอ้างอิง (Benchmark) คือ เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมหรือผลตอบแทนจากการลงทุนอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น
ตัวอย่างดัชนีอ้างอิง: ดัชนี SET50, ดัชนี S&P500, ดัชนี MSCI World
- กลยุทธ์การลงทุน: กองทุนรวมแบบ Passive Fund ลงทุนตามดัชนีอ้างอิงโดยตรง โดยซื้อและถือครองหลักทรัพย์ทั้งหมดที่อยู่ในดัชนีอ้างอิง ในขณะที่กองทุนรวมแบบ Active Fund ลงทุนโดยอาศัยการวิเคราะห์และการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุนเพื่อคาดหวังผลตอบแทนสูงสุด
ความแตกต่างระหว่างกองทุนรวมแบบ Passive Fund และ Active Fund สามารถสรุปได้ดังนี้
ลักษณะ | กองทุนรวมแบบ Passive Fund | กองทุนรวมแบบ Active Fund |
เป้าหมายการลงทุน | ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง | ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีอ้างอิง |
กลยุทธ์การลงทุน | ลงทุนตามดัชนีอ้างอิงโดยตรง | ลงทุนโดยอาศัยการวิเคราะห์และการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุน |
ค่าธรรมเนียม | ต่ำกว่า | สูงกว่า |
ความเสี่ยง | ต่ำกว่า | สูงกว่า |
เหมาะกับใคร | นักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะยาวและรับผลตอบแทนใกล้เคียงกับตลาด | นักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะสั้นและยาว โดยต้องการรับผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาด |
เทคนิคเลือกกองทุนรวมสำหรับมือใหม่ ให้ดีต่อใจ
สำหรับคนที่อยากเริ่มเลือกซื้อกองทุนรวมด้วยตัวเอง เรามีเทคนิคเลือกซื้อกองทุนรวมสำหรับมือใหม่ แบบง่าย ๆ ที่สามารถทำตามได้เลย ดังนี้
1. เลือกประเภทกองทุนรวม ให้เหมาะกับเป้าหมายและความเสี่ยงที่ยอมรับได้
กองทุนรวมแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมผสม และอื่น ๆ ซึ่งแต่ละประเภทมีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกันไป
ตัวอย่างเช่น หากต้องการออมเงินเพื่อเกษียณอายุ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้อาจไม่สูงมากนัก จึงควรเลือกกองทุนรวมตราสารหนี้หรือกองทุนรวมผสมจะดีกว่าการเลือกกองทุนรวมหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า
[ยังหาเป้าหมายในชีวิตของตัวเองไม่เจอ ไม่เป็นไรเลย! เรียนรู้วิธีการตั้งเป้าหมายชีวิต ส่งเสริมความมั่งคงทุกมิติได้ ได้ที่นี่ >> 20 เป้าหมายในชีวิต เป้าหมายในการทำงานให้ชีวิตมั่นคง สุขสบาย]
2. ดูผลการดำเนินงานย้อนหลัง
ผลการดำเนินงานย้อนหลังเป็นข้อมูลที่สำคัญในการเปรียบเทียบกองทุนรวม อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานย้อนหลังก็ไม่ได้สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคตได้แบบชัวร์ ๆ แต่อย่างน้อยก็สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้ (แนะนำว่าควรดูผลการดำเนินงานย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป)
3. เปรียบเทียบค่าธรรมเนียม
กองทุนรวมแต่ละกองจะมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน โดยค่าธรรมเนียมจะหักออกจากผลตอบแทนของกองทุนรวม ดังนั้นควรเลือกกองทุนรวมที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ เราจะได้ผลตอบแทนมากขึ้น
4. ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
การกระจายความเสี่ยงที่ดีที่สุด คือ การลงทุนอย่างสม่ำเสมอ (DCA) โดยควรลงทุนอย่างน้อยเดือนละครั้ง จะช่วยให้ลดความเสี่ยงจากการขึ้นลงของตลาดได้
5. ติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
ควรติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนรวมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินว่ากองทุนรวมยังเหมาะสมกับเป้าหมายและความเสี่ยงที่ยอมรับได้หรือไม่ ถึงจะมีผู้จัดการกองทุนรวมคอยจัดการให้ ก็ไม่ควรประมาทเพราะอย่างไรผู้จัดการกองทุนก็เป็นคนคนหนึ่ง ซึ่งนั่นหมายถึงเขาสามารถตัดสินใจผิดพลาดได้นั่นเอง
กองทุนรวมที่น่าสนใจ ในปี 2023
1. KWI EE EURO – กองทุนเปิด เคดับบลิวไอ อิเมอร์จิ้ง อีสเทอร์น ยุโรป เอฟไอเอฟ
กองทุนเปิด เคดับบลิวไอ อิเมอร์จิ้ง อีสเทอร์น ยุโรป เอฟไอเอฟ KWI EE EURO เป็นกองทุนรวมแบบ Feeder Fund ประเภทตราสารทุน บริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เคดับบลิวไอ จำกัด (มหาชน)
บลจ: KWIAM
ประเภทกองทุนรวม: กองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ
กลุ่มกองทุนรวม: Emerging Market
ระดับความเสี่ยง: 6 (สูง)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: +40.72%
นโยบายการลงทุน:
- ลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศยุโรปตอนกลางและตะวันออก
- เน้นลงทุนในกองทุน Manulife Global Fund – Emerging Eastern Europe Fund (Class AA) และอาจลงทุนในตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX Hedging)
นโยบายการจ่ายปันผล: ไม่จ่าย
จุดเด่น: ลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศยุโรป โดยเน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีศักยภาพเติบโตสูง
หนังสือชี้ชวน>> https://www.finnomena.com/fund/KWI%20EE%20EURO
2. ONE-GLOBFIN-RD/-RA – กองทุนเปิด วรรณ โกลบอล ไฟแนนเชียล
กองทุนเปิด วรรณ โกลบอล ไฟแนนเชียล คือ กองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจทางด้านบริการทางการเงินเป็นหลัก ทั่วโลก
บลจ. : ONEAM
ประเภทกองทุนรวม: กองทุนรวมตราสารทุน, กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม
กลุ่มกองทุนรวม: Global Equity
ระดับความเสี่ยง: 7 (สูง)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: +23.56%
นโยบายการลงทุน:
- ลงทุนในกองทุน BlackRock Global Funds – World Financials Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน Class D2 ในสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ (USD)
นโยบายการจ่ายปันผล: ไม่จ่าย
จุดเด่น: เน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านบริการทางการเงินเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูงและมีความผันผวนน้อยกว่าธุรกิจอื่น ๆ
หนังสือชี้ชวน>> https://www.finnomena.com/fund/ONE-GLOBFIN-RA
3. KKP SEMICON-H – กองทุนเปิดเคเคพี เซมิคอนดักเตอร์ เฮดจ์
กองทุน KKP SEMICON-H คือ กองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก โดยมุ่งเน้นไปที่บริษัทที่มีแนวโน้มเติบโตสูงและมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง
บลจ. : KKPAM
ประเภทกองทุนรวม: กองทุนรวมตราสารทุน, กองทุนรวมฟีดเดอร์, กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม, กองทุนรวมที่มีนโยบายเปิดให้มีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นภายใต้บลจ. เดียวกัน, กองทุนที่เน้นการลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศ
กลุ่มกองทุนรวม: Technology Equity
ระดับความเสี่ยง: 7 (สูง)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: +38.34%
นโยบายการลงทุน:
- มุ่งเน้นไปที่การลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านศักยภาพในการเติบโตและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
นโยบายการจ่ายปันผล: ไม่จ่าย
จุดเด่น: กองทุน KKP SEMICON-H จะใช้กลยุทธ์การประกันความเสี่ยง (Hedging) เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
หนังสือชี้ชวน>> https://www.finnomena.com/fund/KKP%20SEMICON-H
3. KKP SEMICON-H – กองทุนเปิดเคเคพี เซมิคอนดักเตอร์ เฮดจ์
กองทุน KKP SEMICON-H คือ กองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก โดยมุ่งเน้นไปที่บริษัทที่มีแนวโน้มเติบโตสูงและมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง
บลจ. : KKPAM
ประเภทกองทุนรวม: กองทุนรวมตราสารทุน, กองทุนรวมฟีดเดอร์, กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม, กองทุนรวมที่มีนโยบายเปิดให้มีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นภายใต้บลจ. เดียวกัน, กองทุนที่เน้นการลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศ
กลุ่มกองทุนรวม: Technology Equity
ระดับความเสี่ยง: 7 (สูง)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: +38.34%
นโยบายการลงทุน:
- มุ่งเน้นไปที่การลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านศักยภาพในการเติบโตและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
นโยบายการจ่ายปันผล: ไม่จ่าย
จุดเด่น: กองทุน KKP SEMICON-H จะใช้กลยุทธ์การประกันความเสี่ยง (Hedging) เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
หนังสือชี้ชวน>> https://www.finnomena.com/fund/KKP%20SEMICON-H
4. TVIETNAMRMF-A – กองทุนเปิด ทิสโก้ เวียดนาม อิควิตี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ ชนิดผู้ลงทุนทั่วไป
TVIETNAMRMF-A เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศเวียดนามหรือจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ประเทศเวียดนามซึ่งเป็นกองทุน RMF ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ลงทุนครบ 5 ปีขึ้นไป
บลจ: TISCOAM
ประเภทกองทุนรวม: กองทุนรวมตราสารทุน, กองทุนรวมหน่วยลงทุน, กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
กลุ่มกองทุนรวม: Vietnam Equity
ระดับความเสี่ยง: 6 (สูง)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: +17.99%
นโยบายการลงทุน:
- ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวม ETF ตราสารทุน ต่างประเทศ ที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศเวียดนาม
นโยบายการจ่ายปันผล: ไม่จ่าย
จุดเด่น: โอกาสเติบโตสูงเนื่องจากเวียดนามเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่ที่ 7% ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
หนังสือชี้ชวน>> https://www.finnomena.com/fund/TVIETNAMRMF-A
5. SCBSEMI(SSFE) – กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Semiconductor (ชนิดเพื่อการออมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์)
กองทุน SCBSEMI(SSFE) คือ กองทุนรวมเพื่อการออมประเภทตราสารทุน ที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน VanEck Vectors Semiconductor UCITS ETF (กองทุนหลัก) ในอุตสาหกรรม Semiconductor
บลจ. : SCBAM
ประเภทกองทุนรวม: กองทุนรวมตราสารทุน, กองทุนรวมที่มีนโยบายเปิดให้มีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นภายใต้ บลจ. เดียวกัน, กองทุนรวมฟีดเดอร์, กองทุนรวมอุตสาหกรรม, กองทุนรวมที่เน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศ
กลุ่มกองทุนรวม: Technology Equity
ระดับความเสี่ยง: 7 (สูง)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: +48.22%
นโยบายการลงทุน:
- มีนโยบายการลงทุนแบบ Replication Strategy โดยลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านเซมิคอนดักเตอร์ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา
นโยบายการจ่ายปันผล: ไม่จ่าย
จุดเด่น: เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมประเภทตราสารทุนที่เหมาะกับนักลงทุนที่มองหาการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ผลิตชิปซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตสูงและมีค่าใช้จ่ายต่ำ
หนังสือชี้ชวน>> https://www.finnomena.com/fund/SCBSEMI(SSFE)
6. M-EUBANK – กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ยูโรเปียน แบงก์
กองทุน M-EUBANK คือ กองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป
บลจ. : MFC
ประเภทกองทุนรวม: กองทุนรวมตราสารทุน, กองทุนรวมหน่วนลงทุนประเภท Feeder Fund, กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมธนาคาร
กลุ่มกองทุนรวม: European Equity
ระดับความเสี่ยง: 7 (สูง)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: +40.71%
นโยบายการลงทุน:
- เน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป โดยลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน iShares MSCI Europe Financials ETF (กองทุนหลัก)
นโยบายการจ่ายปันผล: ไม่จ่าย
จุดเด่น: เป็นกองทุนรวมตราสารทุนที่เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินแห่งสหภาพยุโรป และต้องการกระจายความเสี่ยงโดยการลงทุนในหลายประเทศ
หนังสือชี้ชวน>> https://www.finnomena.com/fund/M-EUBANK
7. TISCOINNA-A – กองทุนเปิด ทิสโก้ อินเดีย แอคทีฟ อิควิตี้ ชนิดสะสมผลตอบแทน
TISCOINA-A เป็นกองทุนรวมที่เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มองหาโอกาสการลงทุนในหุ้นของบริษัทเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศอินเดีย
บลจ: TISCOAM
ประเภทกองทุนรวม: กองทุนรวมตราสารทุน, กองทุนรวมหน่วยลงทุน
กลุ่มกองทุนรวม: India Equity
ระดับความเสี่ยง: 6 (สูง)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: +10.19%
นโยบายการลงทุน:
- ลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวม ETF ตราสารทุนต่างประเทศ ที่มี นโยบายการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศอินเดีย หรือบริษัทในประเทศอินเดีย
นโยบายการจ่ายปันผล: ไม่จ่าย
จุดเด่น: ลงทุนในหุ้นของบริษัทเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศอินเดียซึ่งเป็นหุ้นที่มีศักยภาพสูงอย่างต่อเนื่อง
หนังสือชี้ชวน>> https://www.finnomena.com/fund/TISCOINA-A
8. ASP-NGF – กองทุนเปิดแอสเซทพลัสนิปปอนโกรท
กองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund ที่ลงทุนในกองทุนหลักต่างประเทศเพียงกองเดียว คือ Nippon Growth (UCITS) Fund ซึ่งกองทุนหลักนี้เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ประเทศญี่ปุ่นที่มีการเติบโตสูง
บลจ: ASP
ประเภทกองทุนรวม: กองทุนรวมตราสารทุน, Feeder Fund, กองทุนรวมที่เน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศ
กลุ่มกองทุนรวม: Japan Equity
ระดับความเสี่ยง: 6 (สูง)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: +46.26%
นโยบายการลงทุน:
- ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Nippon Growth (UCITS) Fund ซึ่งบริหารและจัดการโดย E.I. Sturdza Strategic Management Limited
นโยบายการจ่ายปันผล: ไม่จ่าย
จุดเด่น: เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ซึ่งมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
หนังสือชี้ชวน>> https://www.finnomena.com/fund/ASP-NGF
9. TMBUS500 – กองทุนรวมหุ้น กองทุนเปิด ทหารไทย US500 Equity Index
กองทุนรวม TMBUS500 จึงเป็นกองทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่มองหาโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว โดยเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกาที่มีศักยภาพการเติบโตสูง
บลจ: EASTSPRING
ประเภทกองทุนรวม: กองทุนรวม ตราสารทุน, กองทุนรวมฟีดเดอร์
กลุ่มกองทุนรวม: US Equity
ระดับความเสี่ยง: 6 (สูง)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: +10.53%
นโยบายการลงทุน: เน้นลงทุนในกองทุน iShares Core S&P 500 ETF (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปี บัญชีไม่ ต่ำกว่า 80% ของ NAV บริหารจัดการโดย Black Rock Fund Advisors ที่ซื้อขายใน ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก
นโยบายการจ่ายปันผล: ไม่จ่าย
จุดเด่น: เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา 500 บริษัท ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัด S&P 500 โดยถือเป็นดัชนีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก
หนังสือชี้ชวน>> https://www.finnomena.com/fund/TMBUS500
10. ONE-UGG-RA – กองทุนเปิดวรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ
กองทุนเปิดวรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ ชนิดไม่จ่ายเงินปันผล เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง โดยกองทุนหลักคือ Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund ซึ่งบริหารโดย Baillie Gifford กองทุนนี้มีชื่อเสียงในด้านการคัดเลือกหุ้นที่มีศักยภาพการเติบโตสูง
บลจ: ONEAM
ประเภทกองทุนรวม: กองทุนรวมตราสารทุน, กองทุนรวมฟีดเดอร์
กลุ่ม กองทุนรวม: Global Equity
ระดับความเสี่ยง: 6 (สูง)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: +8.15%
นโยบายการลงทุน: ลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund (กองทุนหลัก) ในหน่วยลงทุนชนิด Class B net Accumulation (ชนิด B ประเภทสะสมมูลค่า) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
นโยบายการจ่ายปันผล: ไม่จ่าย
จุดเด่น: เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง ซึ่งมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
หนังสือชี้ชวน>> https://www.finnomena.com/fund/ONE-UGG-RA
สรุป
กองทุนรวมเป็นทางเลือกการลงทุนที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนจำนวนมาก เนื่องจากเป็นการลงทุนที่สะดวก เข้าถึงได้ง่าย และให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม กองทุนรวมก็มีความเสี่ยง ดังนั้น นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอ
Ref:
- https://www.krungsri.com/th/personal/mutual-fund/knowledge/knowledge-home/what-is-mutual-funds
- https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1242
- https://www.moneybuffalo.in.th/vocabulary/what-is-mutual-fund
- https://www.investree.co.th/knowledge-hub-detail/the-benefits-of-investing-in-mutual-fund