หากคุณอยากเลื่อนขั้นเป็นเศรษฐีต้องอ่านให้จบ! วิธีเก็บเงินดี ๆ จากในบทความนี้จะเป็นวิธีเก็บเงินอย่างชาญฉลาดซึ่งเป็นก้าวแรกที่ควรทำให้ได้ เพื่อต่อยอดเงินออมไปสู่การลงทุน สร้างธุรกิจและก่อให้เกิดอิสรภาพทางการเงินต่อไป รับรองว่าปัญหาสุดคลาสิคของเพื่อน ๆ ที่เก็บออมไม่ได้ พอมีเงินปุ๊บก็อยากใช้ปั๊บจะไม่เกิดขึ้นอีก เพียงแค่ลองทำตามวิธีเก็บเงินที่เรากำลังจะแนะนำต่อไปนี้ จะมีวิธีเก็บเงินแบบไหนบ้างมาดูกัน
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
1. ออมก่อนใช้ 10%
วิธีการเก็บเงินที่ได้ผลมากสำหรับคนที่เก็บเงินไม่ค่อยอยู่คือการออมก่อนใช้ เพราะเราจะมั่นใจได้ว่าเงินส่วนหนึ่งได้ถูกแบ่งมาออมแล้วเรียบร้อย ถ้าไม่ใช้วิธีเก็บเงินนี้เราก็อาจชะล่าใจและไม่รู้ลิมิตการใช้เงินที่เหมาะสม อาจนำไปสู่การใช้จ่ายเกินตัวจนไม่มีเหลือเก็บแล้วก็จะบอกกับตัวเองว่า “เอาน่า…เดี๋ยวค่อยออมวันหลัง” และนั่นคือประโยคของหายนะทางการเงินที่แท้จริง ดังนั้นมาเริ่มต้นเก็บก่อนใช้สัก 5-10% เช่น เงินเดือน 20,000 บาท ให้ออม 20,000 x 10/100 = 2,000 บาท ซึ่งนี่เป็นวิธีเก็บเงิน มนุษย์เงินเดือน 20000 บาทที่จะช่วยให้คุณมีเงินถึง 24,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว
2. วิธีเก็บเงินด้วยแบงค์ 50
แบงค์ 50 เป็นแบงค์ที่ค่อนข้างหายาก เมื่อเราเจอแบงค์ 50 แนะนำให้เก็บเอาไว้เลย ถือเป็นวิธีเก็บเงิน สําหรับคนเก็บเงินไม่อยู่ ที่ง่ายและทำได้จริง นอกจากนั้นแล้วน้อง ๆ นักเรียนนักศึกษาที่อยากเริ่มต้นเก็บออม แนะนำให้เก็บวันละ 50 บาทควบคู่ไปกับการสะสมแบงค์ 50 บาทก็ได้นะ วิธีนี้เป็นวิธีเก็บเงินที่ช่วยสร้างวินัยทางการเงินได้ดีมากแล้วยังไม่ทำให้รู้สึกว่าการออมเป็นเรื่องลำบากอีกด้วย
3. ออมเงินตามวันที่
วิธีการเก็บเงินให้อยู่ที่อาจจะฟังดูแปลกแต่สามารถทำให้การออมเป็นเรื่องน่าสนุกมากขึ้นได้ นั่นคือการออมตามวันที่บนปฏิทิน หรือ 365 Days Saving Money Challenge ถือเป็นชาเลนจ์สนุก ๆ ที่ทำตามได้จริง เช่น วันที่ 1 ออม 1 บาท, วันที่ 2 ออม 2 บาท หรือถ้าหากวันนี้อยากออม 300 บาท ก็สามารถออมไว้ได้เลย ไม่จำเป็นต้องเรียงวันก็ได้ เมื่อออมแบบนี้ครบ 1 ปี คุณจะมีเงินออมถึง 66,795 บาท นับเป็นวิธีเก็บเงินที่ทำให้ได้เงินก้อนแบบไม่ต้องหักโหมแถมยังสนุกมากเลยล่ะ
4. ทำงบรายรับ-รายจ่ายทุกเดือน
การทำงบรายรับ-รายจ่าย เป็นการวางแผนและบันทึกล่วงหน้าว่าแต่ละเดือนเรามีรายรับขั้นต่ำเท่าไรบ้าง มีรายจ่ายอะไรบ้าง ซึ่งนี่เป็นวิธีเก็บเงินแบบจริงจังที่ช่วยให้เรามองเห็นภาพอนาคตข้างหน้าได้ชัดเจนมากขึ้น ว่าเราควรจะหารายได้เพิ่มไหมหรือจำกัดรายจ่ายที่เกินความจำเป็นตรงไหนออกบ้าง ซึ่งแนะนำว่าควรทำงบรายรับ-รายจ่ายล่วงหน้าประมาณ 6 เดือน เพื่อให้วางแผนการเงินได้ชัดเจนมากขึ้น
5. เก็บเงินในรูปของ “ทรัพย์สิน”
วิธีเก็บเงินสําหรับคนเก็บเงินไม่อยู่วิธีนี้จะช่วยป้องกันการใช้จ่ายที่ง่ายเกินไปได้ดี เนื่องจากเวลาที่เรามีเงินอยู่ในบัญชีที่โอนออกง่าย หรืออยู่ในบัตรเครดิตที่พร้อมจ่าย บอกเลยว่าร้อยทั้งร้อยมักจะใช้จ่ายตามอารมณ์เป็นหลักและจะทำให้การเก็บเงินไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นนอกจากแยกออมเป็นเงินแล้วการไปซื้อ “ทรัพย์สิน” เช่น ทองคำ, อสังหาริมทรัพย์, หุ้น และอื่น ๆ ก็เป็นการตัดสินใจที่ดี แต่ทั้งนี้แนะนำว่าควรเลือกทรัพย์สินที่แปลงเป็นเงินสดได้ง่ายเผื่อกรณีฉุกเฉินด้วย อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการสร้าง Passive Income คืออะไร? อีกด้วย
6. วิธีเก็บเงินในบัญชีที่ถอนยาก
วิธีเก็บเงิน มนุษย์เงินเดือนยอดฮิตที่ทำได้ไม่ยุ่งยากแต่ได้ผลจริง นั่นคือการเปิด “บัญชีฝากประจำ” ที่มีเงื่อนไขว่าห้ามถอนก่อนระยะเวลาที่กำหนดหรือใครที่อยากฝากในบัญชีธนาคารออมทรัพย์ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่แนะนำว่าไม่ควรดาวน์โหลดแอป Mobile Banking ของบัญชีนั้นไว้ในมือถือนะ เพราะนั่นจะทำให้เราโอนง่าย โอนสะดวก เดี๋ยวจะเก็บเงินไม่อยู่ได้นะบอกเลย
7. วิธีเก็บเงินสูตร 50/30/20
การออมเงินด้วยสูตร 50/30/20 คือ สูตรบริหารรายได้สุทธิเป็นสัดส่วนต่าง ๆ ประกอบด้วย
วิธีเก็บเงิน 50% คือ NEEDs
เป็นเงินสำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นที่มีความเกี่ยวข้องกับความอยู่รอด เช่น ค่าเช่าบ้าน, ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
วิธีเก็บเงิน 30% คือ WANTs
เป็นเงินสำหรับจ่ายเพื่อความสุขของเราเอง เช่น การท่องเที่ยว, เครื่องประดับ, เสื้อผ้า เป็นต้น
วิธีเก็บเงิน 20% คือ SAVINGs
เป็นเงินสำหรับเก็บออมและลงทุน เช่น หุ้น, ตราสารหนี้, ทองคำ เป็นต้น
8. หักลงทุนแบบ DCA อัตโนมัติ
วิธีการเก็บเงินล้านด้วยการ DCA ย่อมาจาก Dollar-Cost Averaging หมายถึง การลงทุนเป็นงวด ๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่จำกัดว่าต้องลงทุนกับอะไรหรือเป็นจำนวนเท่าไร เพราะหัวใจอยู่ที่ “ความสม่ำเสมอ” ซึ่งนี่เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้คุณกลายเป็นคนที่มีอิสรภาพทางการเงินได้ไวมากขึ้น เหมาะสำหรับคนที่เก็บเงินไม่อยู่และไม่ได้อยากจ้องหน้าจอดูหุ้นที่จะลงทุนตลอดเวลา รวมไปถึงคนที่อยากเป็นนักลงทุนสาย VI (Value Investor: การลงทุนแบบเน้นคุณค่า) ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้เช่นกัน แนะนำว่าควรลงทุนสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 7-10% เป็นอย่างต่ำ
9. วิธีเก็บเงินแบบคนญี่ปุ่นด้วย Kakeibo
วิธีเก็บเงินแบบคนญี่ปุ่นด้วยวิธี Kakeibo (คะเคโบะ) คือ การแบ่งการใช้จ่ายออกเป็น 4 ประเภท
ค่าใช้จ่ายตามวิธีเก็บเงิน Kakeibo
ได้แก่ การใช้จ่ายทั่วไป, สิ่งของที่อยากได้, การใช้จ่ายกับกิจกรรมหรือการเข้าสังคม, การใช้จ่ายเหนือการคาดหมาย ซึ่งวิธีเก็บเงินแบบนี้จะทำให้เราเห็นชัดเจนเลยว่าแต่ละเดือนเราหมดเงินไปกับค่าใช้จ่ายแบบไหนเยอะและมันเกินความจำเป็นหรือไม่ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราอย่างไร วิธีนี้จะช่วยให้เรามองเห็นการใช้จ่ายของตัวเองและหาแนวทางปรับปรุงได้ต่อไป
10. คิดก่อนซื้อ 7 รอบ
เชื่อว่าหลาย ๆ คนเคยเจอเหตุการณ์ที่เห็นสินค้าบางอย่างแล้วอยากซื้อทันทีทันใด แต่กลับไม่ได้รู้สึกอยากได้แล้วเมื่อผ่านไปไม่กี่วัน สถานการณ์แบบนั้นจะหมดไปทันที เมื่อคุณได้ลองเทคนิค “การคิด 7 รอบ” นี่ถือเป็นวิธีเก็บเงินขั้นเทพที่ช่วยลดอาการหุนหันพลันแล่นกับเรื่องเงินได้เยอะมาก วิธีการใช้คือเวลาอยากได้อะไรให้ลองถามเหตุผลที่ต้องการซื้อสิ่งนั้นมา เมื่อได้คำตอบแล้วก็ถามตัวเองอีกว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น ถามแบบนี้ต่อไปให้ครบ 7 ขั้น
เช่น คุณอยากได้มือถือใหม่ รุ่นล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัว ราคา 40,000 บาท จากนั้นถามตัวเองว่าทำไมถึงอยากได้ คำตอบแรกคือ อยากได้เพราะมือถือใหม่น่าสนใจเพราะฟีเจอร์แต่เมื่อลองนึกดี ๆ แล้วคุณอาจตกตะกอนได้ว่าฟีเจอร์ที่เพิ่มมาเหล่านั้นไม่ได้ตรงกับไลฟ์สไตล์หรือการทำงานของคุณแม้แต่น้อย การไม่ซื้อมือถือใหม่ก็อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่านั่นเอง
11. ชวนเพื่อนใช้วิธีเก็บเงินด้วยกัน
ถ้าใครรู้สึกว่าวิธีเก็บเงินต่าง ๆ ข้างต้นที่แนะนำไปยังไม่โดนใจหรือกลัวว่าตัวเองจะห้ามตัวเองไม่อยู่จริง ๆ ล่ะก็ การลองหา “บัดดี้” ไว้สักคนก็เป็นไอเดียที่ดีเพราะเพื่อนหรือบัดดี้จะคอยเตือนสติให้เราอยู่ในลู่ในทาง ไม่เหลวไหลและยังเป็นโอกาสที่จะได้ช่วยกันสอนวิธีการเก็บเงินเจ๋ง ๆ และแลกเปลี่ยนความรู้ทางการเงินให้แก่กัน แต่จุดนี้แนะนำว่าควรเลือกบัดดี้ที่มีสติและมีเป้าหมายในการเก็บเงินที่ชัดเจน มากกว่าเพื่อนที่ใช้จ่ายแบบไม่ห้ามกันไม่งั้นล่ะแย่แน่ ๆ
12. ยกเลิกการสมัครสมาชิกที่ซ้ำซ้อน
วิธีประหยัดที่ได้ผลอีกวิธีหนึ่งคือการยกเลิกการสมัครสมาชิกรายเดือนที่ซ้ำซ้อนกันออก เช่น แอปเกม, แอปสตรีมมิ่ง, แอปโซเชียลต่าง ๆ ซึ่งบอกเลยว่าในแต่ละเดือนคุณเสียเงินให้กับการสมัครรายเดือนแบบนี้เยอะจนน่าเสียดาย อย่างบางคนก็ไล่สมัครครบทุกแอปแต่สุดท้ายก็ไม่ค่อยได้ดู ชอบถือคติว่าสมัครไปก่อนเพื่อความอุ่นใจ บอกเลยว่านั่นอาจไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก แนะนำว่าอาจค่อย ๆ ลดการสมัครไปทีละอย่างเพื่อเพิ่มเงินเก็บก็ได้
วิธีเก็บเงินต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอไปนั้นล้วนแล้วแต่เป็นวิธีที่ทำได้ไม่ยากและได้ผลจริง ช่วยให้คุณมีเงินเก็บแบบเป็นกอบเป็นกำ แต่ทั้งนี้การมีเป้าหมายที่ชัดเจนและวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอคือหัวใจสำคัญของการประสบความสำเร็จในด้านการเงิน จำไว้ว่า ไม่มีใครทำให้เรารวยได้ ถ้าเราไม่อยาก และก็ไม่มีใครทำให้เราจนได้ถ้าเราไม่ยอม ดังนั้นจงมีสติในการใช้จ่ายทุกครั้งนะคะ
ที่มา:
- https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1219
- https://makebykbank.kbtg.tech/articles/10-Tips-for-Saving-Money
- https://www.gsb.or.th/blogs/7-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%86-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81/
- https://www.cimbthai.com/th/personal/blog/lifestyle-tips/saving-money-challenge.html
- https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/92227